0012

กรมปศุสัตว์ โดย​สำนักควบคุมอาหารและยาสัตว์​ จัดโครงการฝึกอบรมหลักสูตร HACCP ให้แก่ผู้ประกอบการอาหารสัตว์ รุ่นที่ 1 ประจำปีงบประมาณ 2566 ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 5 – 9 ธันวาคม 2565 ณ โรงแรมบางแสน เฮอริเทจ จังหวัดชลบุรี โดยมีผู้ประกอบการ เข้าร่วมฝึกอบรม จำนวน 50 คน

กรมปศุสัตว์ มีหน้าที่ในการกำกับ ดูแลผู้ประกอบการผลิต นำเข้า ขาย และส่งออกอาหารสัตว์ ยาสัตว์ และวัตถุอันตรายด้านการปศุสัตว์ ให้เป็นไปตามกฎหมาย นอกจากนี้ ยังให้การรับรองระบบประกันคุณภาพอาหารสัตว์ แก่ผู้ประกอบการอาหารสัตว์ ให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล โดยระบบประกันคุณภาพที่กรมปศุสัตว์ให้การรับรองในปัจจุบัน ได้แก่ ระบบการจัดการด้านสุขลักษณะที่ดีในสถานประกอบการ (GMP) และระบบการวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องควบคุมในการผลิต (HACCP) ซึ่งเป็นระบบที่ควบคุมคุณภาพการผลิตอาหารสัตว์ให้มีคุณภาพ มีความปลอดภัย และใช้เป็นเงื่อนไขทางการค้าสำหรับการซื้อขายที่เป็นที่ยอมรับของลูกค้า รวมถึงผู้บริโภคทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งมีปริมาณการส่งออก 980,394 ตัน มีมูลค่า 93,349 ล้านบาท (ข้อมูลตั้งแต่เดือนมกราคม-ตุลาคม 2565) ซึ่งมีการส่งออกอาหารสัตว์กว่า 100 ประเทศทั่วโลก โดยในปี 2563 คณะกรรมาธิการโครงการมาตรฐานอาหาร FAO/WHO (Codex Alimentarius Commission - CAC) ได้มีการปรับปรุงข้อกำหนดของระบบ GMP/HACCP Rev. 2003 ซึ่งใช้มานานกว่า 17 ปี มีการเพิ่มหัวข้อความตระหนักและจิตสำนึกเกี่ยวกับความปลอดภัยอาหาร การเพิ่มเติมข้อกำหนดเกี่ยวกับสารก่อภูมิแพ้ และประเด็นในหัวข้อการควบคุมกระบวนการผลิตต่างๆ เพื่อสร้างความเชื่อมั่น ในเรื่องความปลอดภัยของอาหารเพิ่มมากขึ้น และเปลี่ยนชื่อระบบเป็น GHPs/HACCP Rev. 2020 ดังนั้น เพื่อให้ผู้ประกอบการอาหารสัตว์ มีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องระบบ GHPs/HACCP ฉบับปรับปรุงใหม่ อันเป็นการเตรียมความพร้อมให้สอดคล้องกับข้อตกลงทางการค้าระหว่างประเทศ ที่อาจจะมีข้อบังคับให้ผู้ส่งออกอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ ต้องใช้ระบบดังกล่าว มาควบคุมกระบวนการผลิตอาหารสัตว์ โดยสามารถผลิตอาหารสัตว์ให้เกิดความปลอดภัย (food safety) ตลอดห่วงโซ่อาหาร (From Farm to table) สามารถลดอันตรายที่อาจปนเปื้อนในอาหารสัตว์ ทั้งทางด้านกายภาพ เคมี และชีวภาพ โดยเฉพาะโรคระบาดสัตว์ ได้แก่ โรคไข้หวัดนกในสัตว์ปีก และโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร รวมถึงการตกค้างของสารเคมีทางการเกษตร ที่อาจส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยของห่วงโซ่อาหารและอาหารสัตว์

การฝึกอบรมครั้งนี้ มีทั้งการบรรยาย จากวิทยากรผู้มีความรู้และเชี่ยวชาญ ทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน และมีกิจกรรมเข้ากลุ่มปฏิบัติ เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น นำเสนอผลงานของกลุ่มย่อย โดยมีหัวข้อการอบรม ประกอบด้วย (1) มาตรฐานอาหารระหว่างประเทศและภาพรวมโปรแกรมพื้นฐานด้านสุขลักษณะ เพื่อรองรับระบบ GHPs/HACCP (2) การจัดเตรียมเอกสารเกี่ยวกับการจัดการสุขลักษณะในโรงงาน (3) การผลิตในขั้นต้น (4) สถานที่ประกอบการ : การออกแบบและสิ่งอำนวยความสะดวก (5) แบ่งกลุ่มย่อย – จัดทำเอกสารคู่มือสุขลักษณะโรงงาน (6) การควบคุมการปฏิบัติงาน (7) สถานที่ประกอบการ : การซ่อมบำรุงและการสุขาภิบาลโรงงาน (8) สุขลักษณะส่วนบุคคล (9) แบ่งกลุ่มย่อย – สุขลักษณะส่วนบุคคล (10) การขนส่ง (11) ข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และการสร้างความเข้าใจให้ผู้บริโภค (12) การฝึกอบรม (13) การทวนสอบระบบสุขลักษณะโรงงาน (14) แบ่งกลุ่มย่อย – การนำเสนอผลงานกลุ่มย่อย : กรณีศึกษาระบบ GHPs (15) ระบบ HACCP และหลักการเบื้องต้น (16) การประยุกต์ใช้ระบบ HACCP ขั้นตอน 1-5 (17) การประยุกต์ใช้ระบบ HACCP ขั้นตอน 6-8 (18) แบ่งกลุ่มย่อย - กรณีศึกษาหลักการ HACCP ขั้นตอนที่ 1-8 (19) การประยุกต์ใช้ระบบ HACCP ขั้นตอน 9 – 10 และ (20) การประยุกต์ใช้ระบบ HACCP ขั้นตอน 11 – 12

กรมปศุสัตว์ คาดการว่า ผู้ประกอบการผลิตอาหารสัตว์ที่เข้าฝึกอบรมในครั้งนี้ จะได้ทราบถึงวิธีการนำระบบ HACCP มาควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ ทำให้ประเทศไทยมีระบบมาตรฐานสากลในการควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ และสามารถส่งออกอาหารสัตว์ได้มากขึ้น โดยเฉพาะอาหารสัตว์เลี้ยง เช่น อาหารสำหรับสุนัขและแมว เนื่องจากประเทศผู้นำเข้าต้องการให้ทางราชการรับรองระบบ HACCP นอกจากนี้ ยังทำให้สัตว์ที่เลี้ยงเพื่อเป็นอาหารโปรตีน ได้รับอาหารสัตว์ที่ปลอดภัย ส่งผลให้ได้เนื้อสัตว์ และผลิตภัณฑ์สัตว์ที่ปลอดภัยอีกด้วย

ภาพ : ศุภกาญจน์ สายทอง / ข่าว : สลิลรัตน์ ชูโชติ / กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ / กรมปศุสัตว์

Save
Cookies user preferences
We use cookies to ensure you to get the best experience on our website. If you decline the use of cookies, this website may not function as expected.
Accept all
Decline all
Essential
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ท่านจำเป็นต้องยอมรับให้เปิดใช้งาน
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ได้แก่ คุกกี้ที่ทำให้เว็บไซต์สามารถทำหน้าที่ขั้นพื้นฐาน เช่น การเลื่อนสำรวจหน้าเว็บไซต์ หรือ ทำให้ผู้เข้าชม/ผู้ใช้เว็บไซต์สามารถเข้าสู่ระบบและสามารถเข้าถึงส่วนของเว็บไซต์ที่ถูกสงวนไว้ให้ใช้ได้เฉพาะสมาชิกเท่านั้น เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานอย่างถูกต้องได้เลยหากไม่มีการเก็บรวบรวมคุกกี้เหล่านี้
Accept
Functional
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยยอมรับหรือปฏิเสธ คุกกี้ในแต่ละประเภทดังต่อไปนี้
คุกกี้ที่ช่วยเหลือในการทำงาน
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม โดยเป็นคุกกี้ประเภทที่ทำให้เว็บไซต์สามารถช่วยเหลือหรืออำนวยความสะดวกในการใช้งานให้ท่านได้
Accept
Decline
คุกกี้เพื่อประสิทธิภาพ
คุกกี้ประเภทนี้ ทำให้ผู้ให้บริการเว็บไซต์ที่คุณเข้าใช้งาน สามารถรับรู้ข้อมูลประสิทธิภาพเว็บไซต์ได้ เช่น จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ จำนวนการเข้าชมเว็บไซต์ แหล่งที่มาของผู้เข้าชม และหน้าเว็บไซต์ใดที่ได้รับความนิยมมากที่สุดหรือน้อยที่สุด เป็นต้น โดยกรมปศุสัตว์จะนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านสถิติเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ เท่านั้น
Accept
Decline
คุกกี้เพื่อกำหนดเป้าหมาย
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม เนื่องจากเว็บไซต์กรมปศุสัตว์มีการเชื่อมโยงลิงค์ไปยังเว็บไซต์ภายนอก ซึ่งเว็บไซต์อื่นหรือโซเชียลมีเดียของบุคคลที่สามจะมีการกำหนดและตั้งค่าคุกกี้ขึ้นมาเอง โดยกรมปศุสัตว์ไม่สามารถควบคุมหรือรับผิดชอบต่อคุกกี้เหล่านั้นได้ และขอแนะนำให้ท่านควรอ่านนโยบายหรือประกาศการใช้คุกกี้ของบุคคลภายนอกเหล่านั้นด้วย โดยคุกกี้ดังกล่าว จะทำการจัดเก็บข้อมูลการเข้าชมเว็บไซต์ของท่าน เช่น ท่านเข้าชมเว็บไซต์ใดบ้าง และเข้าชมเว็บไซต์ผ่านทางลิงก์ใดบ้าง เป็นต้น โดยผู้ให้บริการจะใช้ข้อมูลเหล่านี้เพื่อกำหนดให้เว็บไซต์ และโฆษณาที่ถูกจัดแสดงในเว็บไซต์ของบริษัทฯ เว็บไซต์ในเครือข่ายพันธมิตรของผู้ให้บริการโฆษณา มีความเกี่ยวข้องกับความสนใจของท่านมากขึ้น
Accept
Decline