25641015 1

นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ เปิดเผยว่า ถึงกรณีที่ในพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์ มีผู้นำสุกรมาทิ้งในที่สาธารณะจนเป็นเหตุให้เกิดความวิตกกังวลแก่ประชาชนว่าจะเป็นสาเหตุให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคระบาดได้ ในกรณีดังกล่าวกรมปศุสัตว์ได้ร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการฝังกลบและทำการฆ่าเชื้อโรคแก่ซากสุกรดังกล่าวตามขั้นตอนของ กรมปศุสัตว์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ขอให้ประชาชนมั่นใจในความปลอดภัยจากโรคระบาดที่อาจมีได้ในซากสุกรชุดดังกล่าว ซึ่งการกระทำดังกล่าวนอกจากจะเป็นสร้างความเดือนร้อนแก่ประชาชนในบริเวณใกล้เคียง และอาจเป็นแหล่งแพร่กระจายของเชื้อโรคต่างๆได้ อันจะก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรงต่อเกษตรกรรายอื่นเป็นวงกว้างนั้น ซึ่งการกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายหลายฉบับไม่ว่าจะเป็นมาตรา 396 แห่งประมวลกฎหมายอาญา ผู้ใดทิ้งซากสัตว์ซึ่งอาจเน่าเหม็น ในหรือริมทางสาธารณะ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท หรือมาตรา 11 แห่งพรบ.โรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2558.ที่กำหนดให้เจ้าของสัตว์แจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ สารวัตร หรือสัตวแพทย์ ภายในเวลาสิบสองชั่วโมงนับแต่เวลาที่ทราบว่าสัตว์ป่วยหรือตาย หากไม่ปฏิบัติต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกิน หนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ อีกด้วย

อธิบดีกรมปศุสัตว์กล่าวเพิ่มเติมว่าเนื่องจากในช่วงเวลานี้เป็นฤดูมรสุมและกำลังจะเข้าสู่ฤดูหนาว สภาพอากาศมีความแปรปรวน ประกอบกับหลายพื้นที่ประสบสภาวะน้ำท่วมทำให้สุกรเกิดความเครียด ประกอบกับหากเป็นฟาร์มของเกษตรรายย่อยซึ่งระบบความปลอดภัยทางชีวภาพในการเลี้ยงสุกร (Biosecurity) ยังไม่ดีจะทำให้สุกรที่เลี้ยงมีความเสี่ยงสูงมากขึ้นที่จะเกิดการติดเชื้อขึ้นในฟาร์มโดยเฉพาะที่มีการเลี้ยงสุกรหนาแน่นและมีประวัติการระบาดของโรคมาก่อน จึงเป็นสาเหตุให้โรคนี้เกิดการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็ว กรมปศุสัตว์จึงมีความห่วงใยเกษตรกรโดยเฉพาะรายย่อยจึงมีคำแนะนำให้เกษตรกรปรับปรุงระบบความปลอดภัยทางชีวภาพในฟาร์มเลี้ยงสุกรให้มีประสิทธิภาพ เช่น ควรมีการจัดการที่ดีตามหลักความปลอดภัยทางชีวภาพ (biosecurity) ควรทำการกักแยกสุกรที่นำเข้ามาเลี้ยงใหม่เพื่อสังเกตอาการก่อนปล่อยเข้าร่วมฝูง ทำความสะอาดฟาร์มด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรคที่มีประสิทธิภาพ เข้มงวดการทำลายเชื้อโรคในน้ำที่ใช้ในฟาร์มก่อนนำไปใช้เลี้ยงสุกร ยานพาหนะที่เข้า - ออกฟาร์มจะต้องผ่านการฆ่าเชื้อโรคทุกครั้ง ไม่นำสุกรที่ไม่ทราบประวัติเข้าสู่ฟาร์มโดยเฉพาะจากพื้นที่ที่เคยมีการระบาดโรคต่างๆมาก่อน รวมทั้งการใช้วัคซีนในการป้องกันโรคแต่ต้องร่วมกับระบบการป้องกันโรคในฟาร์มที่มีประสิทธิภาพ แต่อย่างไรก็ดี เพื่อให้การควบคุม ป้องกันโรคเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ กรมปศุสัตว์ขอความร่วมมือพี่น้องเกษตรกรเพิ่มเติม ดังนี้

  1.  ปรับปรุงระบบความปลอดภัยทางชีวภาพในฟาร์มเลี้ยงสุกรให้มีประสิทธิภาพ
  2.  ให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ในการดำเนินการควบคุม ป้องกันโรคในสุกรเพื่อสามารถควบคุมการระบาดของโรคให้อยู่ในวงจำกัด
  3.  กรณีฟาร์มเกษตรกรรายย่อยให้ติดตามข่าวสารการแพร่ระบาดของโรคอย่างใกล้ชิด หากฟาร์มตั้งอยู่ในเขตพื้นที่โรคระบาดให้หยุดการเคลื่อนย้ายสุกร เช่น หยุดการทดแทนสุกรเข้าฟาร์ม หยุดการรับลูกสุกรจากแหล่งอื่นเข้าเลี้ยง รวมไปถึงไม่ให้เกษตรรายอื่นเข้ามาในฟาร์มตนเอง จนกว่าการระบาดของโรคในพื้นที่นั้นสงบลงแล้ว
  4.  หากพบสุกรที่สงสัยว่าป่วยหรือตายด้วยโรคระบาด หรือด้วยอาการผิดปกติไม่ทราบสาเหตุ ให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์อำเภอ เจ้าหน้าที่ปศุสัตว์จังหวัดในพื้นที่ทันที หรือผ่านทางแอพพลิเคชั่นมือถือ “DLD 4.0” หรือสายด่วนกรมปศุสัตว์ หมายเลขโทรศัพท์ 063 225 6888 เพื่อเข้าทำการตรวจสอบต่อไป
  5.  สุกรที่ตายด้วยโรคระบาดหรือไม่มั่นใจในความปลอดภัยของเนื้อที่จะนำมาบริโภคขอให้งดนำเนื้อสุกรนั้นมาบริโภคทุกกรณี หากประชาชนต้องการบริโภคเนื้อสุกรขอให้เลือกซื้อเนื้อสุกรที่มาจากแหล่งผลิตและผู้จำหน่ายที่ได้รับสัญลักษณ์ “ปศุสัตว์ OK” และโดยต้องนำมาปรุงสุกทุกครั้งก่อนการบริโภคเพื่อสุขอนามัยที่ดี

ทั้งนี้ กรมปศุสัตว์ขอยืนยันว่า ในปัจจุบันเจ้าหน้าที่กรมปศุสัตว์ได้ดำเนินการเฝ้าระวัง ควบคุม และป้องกันโรคระบาดต่างๆในสัตว์อย่างเข้มงวดและมีประสิทธิภาพ ดังนั้นจึงขอให้เกษตรกรให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่กรมปศุสัตว์ในการเฝ้าระวัง ควบคุม และป้องกันโรคระบาด และขอให้ประชาชนบริโภคเนื้อสุกรได้ตามปกติไม่ต้องตื่นตระหนก นอกจากนี้พี่น้องเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์หรือประชาชนทั่วไปสามารถติดตามความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับกรมปศุสัตว์หรือข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้อง ผ่านแอพพลิเคชั่นมือถือ “DLD 4.0” ได้ตลอดเวลา อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวในที่สุด

.......................................................................................................................................

ข้อมูล :กลุ่มควบคุมป้องกันโรคปศุสัตว์ สำนักควบคุม ป้องกันและบำบัดโรคสัตว์ กรมปศุสัตว์  ข่าวปศุสัตว์

 


บันทึก
การตั้งค่าความเป็นส่วนตัว
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยยอมรับหรือปฏิเสธ คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่มีความจำเป็น
ยอมรับทั้งหมด
ปฏิเสธทั้งหมด
Essential
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ท่านจำเป็นต้องยอมรับให้เปิดใช้งาน
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ได้แก่ คุกกี้ที่ทำให้เว็บไซต์สามารถทำหน้าที่ขั้นพื้นฐาน เช่น การเลื่อนสำรวจหน้าเว็บไซต์ หรือ ทำให้ผู้เข้าชม/ผู้ใช้เว็บไซต์สามารถเข้าสู่ระบบและสามารถเข้าถึงส่วนของเว็บไซต์ที่ถูกสงวนไว้ให้ใช้ได้เฉพาะสมาชิกเท่านั้น เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานอย่างถูกต้องได้เลยหากไม่มีการเก็บรวบรวมคุกกี้เหล่านี้
ยอมรับ
Functional
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยยอมรับหรือปฏิเสธ คุกกี้ในแต่ละประเภทดังต่อไปนี้
คุกกี้ที่ช่วยเหลือในการทำงาน
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม โดยเป็นคุกกี้ประเภทที่ทำให้เว็บไซต์สามารถช่วยเหลือหรืออำนวยความสะดวกในการใช้งานให้ท่านได้
ยอมรับ
ปฏิเสธ
คุกกี้เพื่อประสิทธิภาพ
คุกกี้ประเภทนี้ ทำให้ผู้ให้บริการเว็บไซต์ที่คุณเข้าใช้งาน สามารถรับรู้ข้อมูลประสิทธิภาพเว็บไซต์ได้ เช่น จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ จำนวนการเข้าชมเว็บไซต์ แหล่งที่มาของผู้เข้าชม และหน้าเว็บไซต์ใดที่ได้รับความนิยมมากที่สุดหรือน้อยที่สุด เป็นต้น โดยกรมปศุสัตว์จะนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านสถิติเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ เท่านั้น
ยอมรับ
ปฏิเสธ
คุกกี้เพื่อกำหนดเป้าหมาย
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม เนื่องจากเว็บไซต์กรมปศุสัตว์มีการเชื่อมโยงลิงค์ไปยังเว็บไซต์ภายนอก ซึ่งเว็บไซต์อื่นหรือโซเชียลมีเดียของบุคคลที่สามจะมีการกำหนดและตั้งค่าคุกกี้ขึ้นมาเอง โดยกรมปศุสัตว์ไม่สามารถควบคุมหรือรับผิดชอบต่อคุกกี้เหล่านั้นได้ และขอแนะนำให้ท่านควรอ่านนโยบายหรือประกาศการใช้คุกกี้ของบุคคลภายนอกเหล่านั้นด้วย โดยคุกกี้ดังกล่าว จะทำการจัดเก็บข้อมูลการเข้าชมเว็บไซต์ของท่าน เช่น ท่านเข้าชมเว็บไซต์ใดบ้าง และเข้าชมเว็บไซต์ผ่านทางลิงก์ใดบ้าง เป็นต้น โดยผู้ให้บริการจะใช้ข้อมูลเหล่านี้เพื่อกำหนดให้เว็บไซต์ และโฆษณาที่ถูกจัดแสดงในเว็บไซต์ของบริษัทฯ เว็บไซต์ในเครือข่ายพันธมิตรของผู้ให้บริการโฆษณา มีความเกี่ยวข้องกับความสนใจของท่านมากขึ้น
ยอมรับ
ปฏิเสธ