2565011701

นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวว่า หลังจากที่มีการประกาศโรค ASF ในสุกรในประเทศไทยและได้รายงานไปองค์การสุขภาพสัตว์โลก (OIE) เมื่อวันที่ 14 มกราคม 2565 นั้น เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมและรับมือผลกระทบด้านการส่งออกเนื้อสุกรและผลิตภัณฑ์ หลังการประกาศพบเชื้อ ASF ในสุกรในประเทศไทย จึงได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ศึกษาถึงผลกระทบและเงื่อนไขในการส่งออกเนื้อสุกรและผลิตภัณฑ์ของประเทศผู้นำเข้าต่างๆ เพื่อให้เกิดผลกระทบให้น้อยที่สุด โดยจากการค้นคว้าข้อมูลและตามระเบียบประเทศคู่ค้าและตามหลักมาตรฐานสากลพบว่า การส่งออกเนื้อสุกรดิบและผลิตภัณฑ์แปรรูปจากสุกร คาดการณ์ว่าจะไม่มีผลกระทบมากนัก เนื่องจากประเทศไทยมีตลาดส่งออกหลักทั้งเนื้อสุกรดิบและสุก ที่ยอมรับในการปฏิบัติตามคำแนะนำของ OIE และเงื่อนไขของประเทศผู้นำเข้าที่กำหนด โดยตลาดส่งออกหลักของเนื้อสุกรดิบคือฮ่องกง ส่วนเนื้อสุกรสุกหรือผลิตภัณฑ์แปรรูปจากสุกร ตลาดหลักคือ ญี่ปุ่นและฮ่องกง ซึ่งการส่งออกในกรณีที่ประเทศมีการระบาดของโรค ASF ในสุกร นั้นจะพิจารณาตามข้อแนะนำ OIE และเงื่อนไขประเทศผู้นำเข้าที่กำหนดไว้เป็นการเฉพาะ เช่น เป็นการห้ามทั้งประเทศ หรือ ห้ามเป็นพื้นที่ หรือห้ามเป็นฟาร์ม โดยมีข้อกำหนด ดังนี้

  1. การส่งออกเนื้อสุกรดิบ สำหรับบางประเทศที่ไม่ได้ห้ามนำเข้า กรมศุสัตว์จะอนุญาตให้ส่งออกต่อเนื่อง โดยมีการควบคุมการผลิตเนื้อสุกร ไม่ให้มีเชื้อ ASF ในสุกรปนเปื้อนในกระบวนการผลิต เช่น การกำหนดให้แหล่งที่มาของสุกร ต้องมาจากฟาร์มมาตรฐาน GAP มีการตรวจหาเชื้อ ASF ในสุกรมีชีวิตก่อนส่งโรงฆ่า และได้รับอนุญาตให้เคลื่อนย้ายโดยเป็นไปตามแนวทางข้อกำหนดของกรมปศุสัตว์ และในโรงฆ่าสัตว์เพื่อการส่งออกจะมีสุ่มเก็บตัวอย่างเนื้อสุกรทุกฟาร์ม (100%) เพื่อเฝ้าระวังเชื้อ ASF ในสุกรปนเปื้อนก่อนอนุญาตให้ส่งออก หรือนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อาหารของคน หรืออาหารสัตว์เลี้ยง
  2. สำหรับผลิตภัณฑ์เนื้อสุกรปรุงสุก OIE ได้กำหนดเงื่อนไขการทำลายเชื้อไวรัส ASF ในสุกร ดังนี้ การทำลายเชื้อไวรัส ASF ในเนื้อสุกรต้องผ่านความร้อน 70 องศาเซลเซียส ระยะเวลาอย่างน้อย 30 นาที หรือ อาหารกระป๋อง F0≥ 3 หรือเนื้อสุกรผ่านการหมักด้วยเกลือและตากแห้งอย่างน้อย 6 เดือน และใน casing จากสุกรต้องหมักเกลือหรือน้ำเกลือ (Aw < 0.8) หรือสารประกอบเกลือฟอสเฟต 86.5%NaCl + 10.7%Na2HPO4 + 2.8%Na3PO4 เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 30 วัน
  3. ในกรณีที่บางประเทศมีการกำหนดเงื่อนไขการนำเข้าเป็นการเฉพาะ กรมปศุสัตว์จะเร่งเจรจากับหน่วยงานที่รับผิดชอบของประเทศนั้นๆ เพื่อขอส่งสินค้าเนื้อสุกรปรุงสุกหรือผลิตภัณฑ์แปรรูปจากสุกร ให้ได้อย่างต่อเนื่อง เช่น สำหรับส่งออกเนื้อสุกรและผลิตภัณฑ์แปรรูปผ่านความร้อน ประเทศสิงคโปร์มีข้อกำหนดต้องมาจากประเทศที่ต้องปลอดจากโรค ASF ในสุกรอย่างน้อย 3 เดือน ก่อนวันเชือดและวันส่งออก ประเทศฟิลิปปินส์กำหนดห้ามการนำเข้าเนื้อสุกรและผลิตภัณฑ์จากประเทศที่มีรายงานโรค ASF ในสุกร สำหรับการส่งออกเนื้อสุกรแช่เย็น/แช่แข็ง ในฮ่องกงมีข้อกำหนดเนื้อสุกรต้องมาจากสุกรมีชีวิตในพื้นที่ปลอดจากโรค swine fever ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา ตาม Health certificate ในอินเดียกำหนดให้ต้องมาจากประเทศที่ต้องปลอดจากโรค ASF ในสุกรหรือสำหรับประเทศที่พบ ASF ในสุกรหากมีแผนเฝ้าระวังและมีการกำหนดพื้นที่ปลอดโรคตาม OIE สามารถส่งออกเนื้อสุกรสดได้ เป็นต้น
  4. สำหรับการส่งออกเนื้อสุกรดิบ และสินค้าเนื้อสุกรปรุงสุกหรือผลิตภัณฑ์แปรรูปจากสุกร ในปี 2565 จะพิจารณาจากท่าทีและเงื่อนไขของประเทศผู้นำเข้าที่จะมีการกำหนดเพิ่มเติมอย่างไร และปัจจัยอื่นๆ เช่น สถานการณ์โควิด 19 โดยคาดการณ์ว่าในปี 2565 การส่งออกน่าจะมีปริมาณใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมาโดยส่งออกประมาณ 23,000 ตัน มูลค่า 3,646 ล้านบาท

สำหรับการส่งออกสุกรมีชีวิตนั้น เพื่อเป็นการแก้ปัญหาราคาเนื้อหมูแพง ภาครัฐได้มีการแก้ปัญหาโดยมาตรการระยะเร่งด่วนกระทรวงพาณิชย์ โดยคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการได้ประกาศห้ามส่งออกสุกรมีชีวิตไปนอกราชอาณาจักรเป็นเวลา 3 เดือน (6 มกราคม – 5 เมษายน 2565) ซึ่งหลังจากนี้จะมีการพิจารณาถึงแนวทางให้เหมาะสมตามสถานการณ์ต่อไป


บันทึก
การตั้งค่าความเป็นส่วนตัว
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยยอมรับหรือปฏิเสธ คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่มีความจำเป็น
ยอมรับทั้งหมด
ปฏิเสธทั้งหมด
Essential
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ท่านจำเป็นต้องยอมรับให้เปิดใช้งาน
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ได้แก่ คุกกี้ที่ทำให้เว็บไซต์สามารถทำหน้าที่ขั้นพื้นฐาน เช่น การเลื่อนสำรวจหน้าเว็บไซต์ หรือ ทำให้ผู้เข้าชม/ผู้ใช้เว็บไซต์สามารถเข้าสู่ระบบและสามารถเข้าถึงส่วนของเว็บไซต์ที่ถูกสงวนไว้ให้ใช้ได้เฉพาะสมาชิกเท่านั้น เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานอย่างถูกต้องได้เลยหากไม่มีการเก็บรวบรวมคุกกี้เหล่านี้
ยอมรับ
Functional
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยยอมรับหรือปฏิเสธ คุกกี้ในแต่ละประเภทดังต่อไปนี้
คุกกี้ที่ช่วยเหลือในการทำงาน
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม โดยเป็นคุกกี้ประเภทที่ทำให้เว็บไซต์สามารถช่วยเหลือหรืออำนวยความสะดวกในการใช้งานให้ท่านได้
ยอมรับ
ปฏิเสธ
คุกกี้เพื่อประสิทธิภาพ
คุกกี้ประเภทนี้ ทำให้ผู้ให้บริการเว็บไซต์ที่คุณเข้าใช้งาน สามารถรับรู้ข้อมูลประสิทธิภาพเว็บไซต์ได้ เช่น จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ จำนวนการเข้าชมเว็บไซต์ แหล่งที่มาของผู้เข้าชม และหน้าเว็บไซต์ใดที่ได้รับความนิยมมากที่สุดหรือน้อยที่สุด เป็นต้น โดยกรมปศุสัตว์จะนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านสถิติเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ เท่านั้น
ยอมรับ
ปฏิเสธ
คุกกี้เพื่อกำหนดเป้าหมาย
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม เนื่องจากเว็บไซต์กรมปศุสัตว์มีการเชื่อมโยงลิงค์ไปยังเว็บไซต์ภายนอก ซึ่งเว็บไซต์อื่นหรือโซเชียลมีเดียของบุคคลที่สามจะมีการกำหนดและตั้งค่าคุกกี้ขึ้นมาเอง โดยกรมปศุสัตว์ไม่สามารถควบคุมหรือรับผิดชอบต่อคุกกี้เหล่านั้นได้ และขอแนะนำให้ท่านควรอ่านนโยบายหรือประกาศการใช้คุกกี้ของบุคคลภายนอกเหล่านั้นด้วย โดยคุกกี้ดังกล่าว จะทำการจัดเก็บข้อมูลการเข้าชมเว็บไซต์ของท่าน เช่น ท่านเข้าชมเว็บไซต์ใดบ้าง และเข้าชมเว็บไซต์ผ่านทางลิงก์ใดบ้าง เป็นต้น โดยผู้ให้บริการจะใช้ข้อมูลเหล่านี้เพื่อกำหนดให้เว็บไซต์ และโฆษณาที่ถูกจัดแสดงในเว็บไซต์ของบริษัทฯ เว็บไซต์ในเครือข่ายพันธมิตรของผู้ให้บริการโฆษณา มีความเกี่ยวข้องกับความสนใจของท่านมากขึ้น
ยอมรับ
ปฏิเสธ