2564 12 08 0011

วันพุธที่ 8 ธันวาคม 2564 เวลา 09.00 น. นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ มอบหมายให้นายสัตวแพทย์โสภัชย์ ชวาลกุล รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ เป็นประธานเปิด การฝึกอบรมหลักสูตรสัตวแพทย์ผู้ควบคุมระบบการใช้ยาผสมอาหารสัตว์ในฟาร์ม โดยมีนายสัตวแพทย์ประภาส ภิญโญชีพ ปศุสัตว์เขต 1 นายสัตวแพทย์อดิศร ชาติสุภาพ ปศุสัตว์จังหวัดปทุมธานีให้การต้อนรับ และสัตวแพทย์หญิงจุฬาพร ศรีหนา นายสัตวแพทย์ชำนาญการพิเศษ หัวหน้ากลุ่มยาสัตว์และการจัดการเชื้อดื้อยา กองควบคุมอาหารและยาสัตว์ กล่าวรายงาน ในการอบรมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้สัตวแพทย์มีความรู้และสามารถสั่งใช้ยาผสมอาหารสัตว์ได้อย่างถูกต้อง สอดคล้องกับกฎหมายอาหารสัตว์ที่กำกับดูแลสัตวแพทย์ ควบคุมระบบการผลิตอาหารสัตว์ที่มียา เพื่อให้อาหารสัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค รวมทั้งยังช่วยลดปัญหาเชื้อดื้อยาที่สามารถเกิดขึ้นได้จากการใช้ยาที่ไม่เหมาะสมในภาคปศุสัตว์ การอบรมครั้งนี้มีสัตวแพทย์ภาคเอกชนเข้าร่วมอบรมจำนวน 64 คน และมีการเว้นระยะทางสังคมอย่างเคร่งครัดตามมาตรการป้องการการแพร่ระบาดของเชื้อโคโรน่าไวรัส 2019 ณ โรงแรม ทินิดี โฮเท็ล แอท บางกอก กอล์ฟ คลับ จังหวัดปทุมธานี
นายสัตวแพทย์โสภัชย์ ชวาลกุล รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวว่า จากการดำเนินงานที่กรมปศุสัตว์และภาคส่วนที่เกี่ยวข้องได้ร่วมกันขับเคลื่อนเพื่อจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพในภาคปศุสัตว์ แสดงให้เห็นเป็นประจักษ์ในความมุ่งมั่นตั้งใจที่กรมปศุสัตว์ได้ร่วมดำเนินการกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเด็นการลดการใช้ยาต้านจุลชีพและการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผลในปศุสัตว์ (Prudent use) ซึ่งถือเป็นภารกิจที่สำคัญของกรมปศุสัตว์ ในการกำกับดูแลการผลิตสินค้าปศุสัตว์ตลอดห่วงโซ่การผลิตตามหลักอาหารปลอดภัย (Food Safety) และหลักการสุขภาพหนึ่งเดียว (One Health Approach) ซึ่งการผลิตอาหารสัตว์ที่ผสมยาในฟาร์มที่มีสัตวแพทย์เป็นผู้ควบคุมระบบการผลิต จำเป็นต้องมีความรู้และกำกับดูแลตามที่กฎหมายกำหนดและสอดคล้องกับหลักมาตรฐานสากล ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งกลไกที่มีความสำคัญในการลดปัญหาการดื้อยาต้านจุลชีพ โดยหลังจากการฝึกอบรม สัตวแพทย์ทุกท่านจะได้รับความรู้เกี่ยวกับการผลิตอาหารสัตว์ที่ผสมยา รวมทั้งการใช้ยาต้านจุลชีพในสัตว์ได้อย่างถูกต้อง สามารถปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยอาหารสัตว์ที่ผสมยาได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
“กรมปศุสัตว์ ได้ออกประกาศกฎหมายที่กำกับดูแลการผสมยาลงในอาหารสัตว์ในฟาร์มเลี้ยงสัตว์ หรือที่เรียกว่าการผสมยาใน Farm mixer โดยมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 26 กันยายน 2563 เนื่องจากการผสมยาในอาหารสัตว์ในฟาร์มเลี้ยงสัตว์ ถือเป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญในการรักษาภาวะการเจ็บป่วยของสัตว์ ซึ่งต้องอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสัตวแพทย์ ภายใต้การสั่งใช้ยาตามหลักการใช้ยาอย่างสมเหตุผล (Prudent use) ซึ่งถือเป็นกลไกที่สำคัญในการลดปัญหาการดื้อยาต้านจุลชีพได้ภายใต้แผนยุทธศาสตร์ชาติการจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพ" รองอธิบดีกรมปศุสัตว์กล่าว

 ภาพ ฉัตรชัย นวลปลอด / ข่าว วรรณกร ชัยรัตน์  / เผยแพร่ฯ สลก.


บันทึก
การตั้งค่าความเป็นส่วนตัว
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยยอมรับหรือปฏิเสธ คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่มีความจำเป็น
ยอมรับทั้งหมด
ปฏิเสธทั้งหมด
Essential
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ท่านจำเป็นต้องยอมรับให้เปิดใช้งาน
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ได้แก่ คุกกี้ที่ทำให้เว็บไซต์สามารถทำหน้าที่ขั้นพื้นฐาน เช่น การเลื่อนสำรวจหน้าเว็บไซต์ หรือ ทำให้ผู้เข้าชม/ผู้ใช้เว็บไซต์สามารถเข้าสู่ระบบและสามารถเข้าถึงส่วนของเว็บไซต์ที่ถูกสงวนไว้ให้ใช้ได้เฉพาะสมาชิกเท่านั้น เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานอย่างถูกต้องได้เลยหากไม่มีการเก็บรวบรวมคุกกี้เหล่านี้
ยอมรับ
Functional
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยยอมรับหรือปฏิเสธ คุกกี้ในแต่ละประเภทดังต่อไปนี้
คุกกี้ที่ช่วยเหลือในการทำงาน
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม โดยเป็นคุกกี้ประเภทที่ทำให้เว็บไซต์สามารถช่วยเหลือหรืออำนวยความสะดวกในการใช้งานให้ท่านได้
ยอมรับ
ปฏิเสธ
คุกกี้เพื่อประสิทธิภาพ
คุกกี้ประเภทนี้ ทำให้ผู้ให้บริการเว็บไซต์ที่คุณเข้าใช้งาน สามารถรับรู้ข้อมูลประสิทธิภาพเว็บไซต์ได้ เช่น จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ จำนวนการเข้าชมเว็บไซต์ แหล่งที่มาของผู้เข้าชม และหน้าเว็บไซต์ใดที่ได้รับความนิยมมากที่สุดหรือน้อยที่สุด เป็นต้น โดยกรมปศุสัตว์จะนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านสถิติเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ เท่านั้น
ยอมรับ
ปฏิเสธ
คุกกี้เพื่อกำหนดเป้าหมาย
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม เนื่องจากเว็บไซต์กรมปศุสัตว์มีการเชื่อมโยงลิงค์ไปยังเว็บไซต์ภายนอก ซึ่งเว็บไซต์อื่นหรือโซเชียลมีเดียของบุคคลที่สามจะมีการกำหนดและตั้งค่าคุกกี้ขึ้นมาเอง โดยกรมปศุสัตว์ไม่สามารถควบคุมหรือรับผิดชอบต่อคุกกี้เหล่านั้นได้ และขอแนะนำให้ท่านควรอ่านนโยบายหรือประกาศการใช้คุกกี้ของบุคคลภายนอกเหล่านั้นด้วย โดยคุกกี้ดังกล่าว จะทำการจัดเก็บข้อมูลการเข้าชมเว็บไซต์ของท่าน เช่น ท่านเข้าชมเว็บไซต์ใดบ้าง และเข้าชมเว็บไซต์ผ่านทางลิงก์ใดบ้าง เป็นต้น โดยผู้ให้บริการจะใช้ข้อมูลเหล่านี้เพื่อกำหนดให้เว็บไซต์ และโฆษณาที่ถูกจัดแสดงในเว็บไซต์ของบริษัทฯ เว็บไซต์ในเครือข่ายพันธมิตรของผู้ให้บริการโฆษณา มีความเกี่ยวข้องกับความสนใจของท่านมากขึ้น
ยอมรับ
ปฏิเสธ