กรมปศุสัตว์ เตือนเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ ย้ำให้สังเกตอาการในสัตว์เลี้ยงอย่างใกล้ชิด เพราะอากาศแปรปรวนอาจทำให้สัตว์เกิดโรคต่างๆได้ง่าย พร้อมเร่งดำเนินมาตรการในการเฝ้าระวังและควบคุมโรคระบาดที่อาจจะเกิดขึ้นในช่วงฤดูฝน

นายสัตวแพทย์อภัย สุทธิสังข์ อธิบดีกรมปศุสัตว์ เผยว่า ในช่วงฤดูฝนนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมปศุสัตว์มีความห่วงใยสุขภาพสัตว์เลี้ยงของเกษตรกร เนื่องจากสภาพอากาศที่แปรปรวน ฝนตกหนัก น้ำท่วมขัง สัตว์เกิดความเครียดและร่างกายอ่อนแอ ทำให้ภูมิคุ้มกันโรคลดต่ำลง ส่งผลให้มีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อโรคต่างๆ ได้ง่าย โรคสัตว์ที่อาจจะพบได้ในช่วงหน้าฝน ได้แก่

โรคปากและเท้าเปื่อย เป็นโรคระบาดที่สำคัญที่สุดโรคหนึ่งในโค กระบือ แพะ แกะ สุกร ซึ่งสร้างความเสียหายต่อเกษตรกรและเศรษฐกิจของประเทศอย่างร้ายแรง เนื่องจากติดต่อกันง่าย และแพร่ระบาดได้รวดเร็วมาก โดยสัตว์จะติดเชื้อไวรัสจากการสัมผัสสัตว์ป่วยโดยตรง การกินอาหารและน้ำที่มีเชื้อปนเปื้อน รวมถึงการหายใจเอาเชื้อไวรัสเข้าไป นอกจากนี้เชื้อโรคสามารถแพร่กระจายผ่านทางยานพาหนะ คนเลี้ยง อุปกรณ์เครื่องมือต่างๆ เช่น ถังนม สัตว์ป่วยจะแสดงอาการหลังจากได้รับเชื้อ 2-7 วัน คือ ซึม มีไข้ เบื่ออาหาร มีเม็ดตุ่มพองเกิดขึ้นภายในปาก จมูก และไรกีบ ทำให้สัตว์เกิดความเจ็บปวด น้ำลายไหล กินอาหารไม่ได้ เดินกะเผลก กีบหลุด ซูบผอม โตช้า แท้งลูก ผสมไม่ติด ในโคนมอาจมีเม็ดตุ่มที่เต้านม ทำให้เต้านมอักเสบได้ ส่วนโรคคอบวม ทำให้กระบือและโคมีอาการคอหรือหน้าบวมแข็ง หายใจเสียงดัง หรือหอบ ยืดคอไปข้างหน้า ส่วนใหญ่มักมีอาการแบบเฉียบพลัน คือ ไข้สูง น้ำลายฟูมปาก หยุดกินอาหาร และตายภายในไม่กี่ชั่วโมง ซึ่งโดยปกติเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของ

โรคคอบวม สามารถอยู่ในระบบทางเดินหายใจสัตว์ปกติได้ โดยไม่แสดงอาการป่วย แต่เมื่อสัตว์อยู่ในภาวะเครียดจากการอดอาหาร อากาศเปลี่ยนแปลง การเคลื่อนย้าย หรือการใช้แรงงานมากเกินไป ทำให้ร่างกายอ่อนแอ ภูมิคุ้มกันลดต่ำลง สัตว์จะแสดงอาการป่วย และขับเชื้อออกสู่สิ่งแวดล้อม ปนเปื้อนอาหารและน้ำ อย่างไรก็ตาม โรคปากและเท้าเปื่อยและโรคคอบวม สามารถป้องกันได้โดยการฉีดวัคซีนให้กับสัตว์เป็นประจำทุกปี นอกจากนี้ยังมีโรคเลปโตสไปโรสิสหรือโรคฉี่หนู สัตว์ติดเชื้อได้จากการสัมผัสเชื้อที่ปนเปื้อนในดินหรือน้ำและเชื้อเข้าสู่ร่างกายผ่านบาดแผลที่ผิวหนังหรือเยื่อเมือกตา จมูกและปาก โดยสัตว์ที่ป่วยจะมีไข้ สัตว์ตั้งท้องอาจแท้งได้ มีอาการดีซ่านรวมทั้งปัสสาวะมีสีแดง ซึ่งโรคนี้เป็นโรคที่ติดต่อระหว่างสัตว์และคน

โรค PRRS เกิดจากเชื้อไวรัส ส่งผลกระทบต่อระบบสืบพันธุ์ และระบบทางเดินหายใจ ทำให้สุกรมีการแท้งลูกในระยะท้ายของการตั้งท้อง สุกรในฝูงจะติดโรคจากการสัมผัสสุกรป่วย และการผสมพันธุ์ การป้องกันโรคคือ ควบคุมการนำสุกรใหม่เข้าฝูง โดยการแยกเลี้ยงประมาณ 1 เดือน และต้องเป็นสุกรที่มาจากฟาร์มที่มีระบบป้องกันโรคที่ดี หรือเป็นฟาร์มมาตรฐานที่กรมปศุสัตว์รับรอง รวมทั้งใช้พ่อพันธุ์หรือน้ำเชื้อจากฟาร์มในกลุ่มผู้เลี้ยงเดียวกันและปลอดจากเชื้อไวรัสพีอาร์อาร์เอส นอกจากนี้การสุขาภิบาลการเลี้ยงสุกรที่ดี ทำความสะอาดสถานที่เลี้ยง และอุปกรณ์ต่างๆด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรคอย่างสม่ำเสมอเป็นการป้องกันโรคเข้าฟาร์มอีกทางหนึ่ง

ส่วนโรคระบาดในสัตว์ปีกที่เกษตรกรควรเฝ้าระวังในฤดูฝน ได้แก่ โรคไข้หวัดนก โรคนิวคาสเซิล และโรคอหิวาต์สัตว์ปีก โดยเฉพาะโรคไข้หวัดนกที่ถึงแม้ว่าประเทศไทยจะไม่พบโรคนี้มานานกว่า 5 ปีแล้ว แต่ยังคงมีความเสี่ยงที่โรคนี้อาจกลับมาแพร่ระบาดในประเทศไทยได้อีก เนื่องจากมีการพบการระบาดของโรคไข้หวัดนกในประเทศต่างๆ โดยกรมปศุสัตว์ได้มีการติดตามสถานการณ์ และข้อมูลข่าวสารอย่างใกล้ชิด รวมทั้งดำเนินการเฝ้าระวังและป้องกันโรคไข้หวัดนกอย่างต่อเนื่องและเข้มงวด โดยเฉพาะพื้นที่เสี่ยงต่างๆ เช่น พื้นที่ที่เลี้ยงสัตว์ปีกตามแนวชายแดน ทั้งนี้ หากพบสัตว์ปีกป่วยตายไม่ทราบสาเหตุ หรือมีอาการทางระบบทางเดินหายใจ เช่น หายใจลำบาก หน้าบวม น้ำตาไหล อาการทางระบบประสาท เช่น คอบิด ชักเกร็ง และอาการอื่นๆ เช่น ท้องเสีย ขนยุ่ง ซึม ไม่กินอาหาร ไข่ลด ไข่รูปร่างผิดปกติ หงอน เหนียงสีคล้ำ หรือหน้าแข้งมีจุดเลือดออก ให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ในพื้นที่ทันที เพื่อดำเนินการควบคุมโรคไม่ให้โรคแพร่กระจายออกไป

อธิบดีกรมปศุสัตว์ เน้นย้ำเกษตรกรให้ความสำคัญกับการจัดการโรงเรือนหรือคอกเลี้ยงสัตว์ที่ดี มีหลังคา ป้องกันฝน ลม และละอองฝนได้เป็นอย่างดี หรือจัดเตรียมสถานที่ที่ให้สัตว์สามารถหลบฝนได้ มีการจัดเตรียมน้ำ อาหาร ยา และเวชภัณฑ์ให้พร้อม ทำวัคซีนตามโปรแกรมอย่างสม่ำเสมอ เพื่อเสริมสร้างให้สุขภาพสัตว์แข็งแรง ไม่เจ็บป่วยได้ง่าย และต้องใช้หลักความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosecurity) ในการป้องกันโรคเข้าสู่ฟาร์ม เช่น

  • โรงเรือนมีรั้วรอบขอบชิด สามารถป้องกันสัตว์อื่นๆ หรือสัตว์พาหะเข้าสู่ฟาร์ม
  • ห้ามบุคคลภายนอกเข้าฟาร์ม หากจำเป็นต้องเปลี่ยนรองเท้าบูทที่ใช้เฉพาะในฟาร์ม และเดินผ่านอ่างน้ำยาฆ่าเชื้อทุกครั้งก่อนเข้าโรงเรือน
  • ห้ามยานพาหนะทุกชนิด เช่น รถรับซื้อสัตว์ รถขนอาหารสัตว์ รถรับซื้อมูลสัตว์ เข้าภายในฟาร์มโดยเด็ดขาด หากจำเป็น ต้องพ่นยาฆ่าเชื้อโรค และจัดให้รถดังกล่าวอยู่ไกลจากสถานที่เลี้ยงสัตว์ให้มากที่สุด
  • งดการนำสัตว์ และอาหารสัตว์ ที่มาจากพื้นที่เกิดโรคเข้าสู่ฟาร์ม

สำหรับฟาร์มที่มีโรคระบาดแล้ว กรมปศุสัตว์แนะนำให้เกษตรกรป้องกันการแพร่กระจายโรคภายในฟาร์มและออกนอกฟาร์มดังนี้ จัดให้มีพื้นที่เฉพาะสำหรับกักแยกสัตว์ป่วยให้ห่างจากสัตว์ปกติให้มากที่สุด แยกบุคคลสำหรับดูแลสัตว์ป่วยหากไม่สามารถทำได้ให้จัดลำดับโดยต้องทำกิจกรรมกับสัตว์ป่วยเป็นลำดับสุดท้าย แยกอุปกรณ์ของสัตว์ป่วยกับสัตว์ปกติท้ายที่สุดนี้ อธิบดีกรมปศุสัตว์ขอความร่วมมือเกษตรกรสังเกตอาการสัตว์เลี้ยงของท่าน หากพบสัตว์แสดงอาการป่วยให้แจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ในพื้นที่ทันที เพื่อจะได้เร่งดำเนินการช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน และหากเกษตรกรต้องการขอรับการสนับสนุนพืชอาหารสัตว์จากกรมปศุสัตว์ สามารถติดต่อได้ที่สำนักงานปศุสัตว์อำเภอ สำนักงานปศุสัตว์จังหวัด ใกล้บ้านท่าน ด้วยความปรารถนาดีจากกรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์


ข้อมูล : สำนักควบคุม ป้องกัน และบำบัดโรคสัตว์ กรมปศุสัตว์

เผยแพร่และประชาสัมพันธ์ : น้องนุช สาสะกุล นักวิชาการเผยแพร่ชำนาญการ กรมปศุสัตว์ http://secretary.dld.go.th/index.php/informationdld/newsdld/2698-106-2560


บันทึก
การตั้งค่าความเป็นส่วนตัว
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยยอมรับหรือปฏิเสธ คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่มีความจำเป็น
ยอมรับทั้งหมด
ปฏิเสธทั้งหมด
Essential
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ท่านจำเป็นต้องยอมรับให้เปิดใช้งาน
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ได้แก่ คุกกี้ที่ทำให้เว็บไซต์สามารถทำหน้าที่ขั้นพื้นฐาน เช่น การเลื่อนสำรวจหน้าเว็บไซต์ หรือ ทำให้ผู้เข้าชม/ผู้ใช้เว็บไซต์สามารถเข้าสู่ระบบและสามารถเข้าถึงส่วนของเว็บไซต์ที่ถูกสงวนไว้ให้ใช้ได้เฉพาะสมาชิกเท่านั้น เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานอย่างถูกต้องได้เลยหากไม่มีการเก็บรวบรวมคุกกี้เหล่านี้
ยอมรับ
Functional
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยยอมรับหรือปฏิเสธ คุกกี้ในแต่ละประเภทดังต่อไปนี้
คุกกี้ที่ช่วยเหลือในการทำงาน
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม โดยเป็นคุกกี้ประเภทที่ทำให้เว็บไซต์สามารถช่วยเหลือหรืออำนวยความสะดวกในการใช้งานให้ท่านได้
ยอมรับ
ปฏิเสธ
คุกกี้เพื่อประสิทธิภาพ
คุกกี้ประเภทนี้ ทำให้ผู้ให้บริการเว็บไซต์ที่คุณเข้าใช้งาน สามารถรับรู้ข้อมูลประสิทธิภาพเว็บไซต์ได้ เช่น จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ จำนวนการเข้าชมเว็บไซต์ แหล่งที่มาของผู้เข้าชม และหน้าเว็บไซต์ใดที่ได้รับความนิยมมากที่สุดหรือน้อยที่สุด เป็นต้น โดยกรมปศุสัตว์จะนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านสถิติเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ เท่านั้น
ยอมรับ
ปฏิเสธ
คุกกี้เพื่อกำหนดเป้าหมาย
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม เนื่องจากเว็บไซต์กรมปศุสัตว์มีการเชื่อมโยงลิงค์ไปยังเว็บไซต์ภายนอก ซึ่งเว็บไซต์อื่นหรือโซเชียลมีเดียของบุคคลที่สามจะมีการกำหนดและตั้งค่าคุกกี้ขึ้นมาเอง โดยกรมปศุสัตว์ไม่สามารถควบคุมหรือรับผิดชอบต่อคุกกี้เหล่านั้นได้ และขอแนะนำให้ท่านควรอ่านนโยบายหรือประกาศการใช้คุกกี้ของบุคคลภายนอกเหล่านั้นด้วย โดยคุกกี้ดังกล่าว จะทำการจัดเก็บข้อมูลการเข้าชมเว็บไซต์ของท่าน เช่น ท่านเข้าชมเว็บไซต์ใดบ้าง และเข้าชมเว็บไซต์ผ่านทางลิงก์ใดบ้าง เป็นต้น โดยผู้ให้บริการจะใช้ข้อมูลเหล่านี้เพื่อกำหนดให้เว็บไซต์ และโฆษณาที่ถูกจัดแสดงในเว็บไซต์ของบริษัทฯ เว็บไซต์ในเครือข่ายพันธมิตรของผู้ให้บริการโฆษณา มีความเกี่ยวข้องกับความสนใจของท่านมากขึ้น
ยอมรับ
ปฏิเสธ