ความหมายของตราสัญลักษณ์ประจำกรมปศุสัตว์
ภาคภาษาไทย
เป็นรูปวงกลม มีกรอบล้อมรอบ กึ่งกลางมีรูป โคอุสุภราช มีนามว่า พระนนทิ ถือกันว่าเป็นเทพเจ้าแห่งสัตว์จัตุบาทและ ม้าฉันท์ เป็นม้าขาวคู่บารมีของพระพุทธเจ้า ทั้งโคและม้า ดังกล่าวถือว่าเป็นใหญ่กว่าสัตว์พาหนะทั้งมวล ช่วยกันประคองเรือนแก้วที่ประทับพระพิรุณทรงนาคให้ลอยอยู่เหนือเมฆ ดังนั้น ดวงตรานี้ จึงมีความหมายถึง ปศุสัตว์และสัตว์พาหนะทั้งมวลมีความอุดมสมบูรณ์ อยู่เย็นเป็นสุขปราศจากโรคภัยเบียดเบียน และมีข้อความ “กรมปศุสัตว์” อยู่ด้านล่างของตราสัญลักษณ์
สีประจำกรมปศุสัตว์ คือ สีฟ้าหม่น
ภาคภาษาอังกฤษ
มีองค์ประกอบเหมือนกับภาษาไทย แต่เปลี่ยนจากอักษรไทย เป็นภาษาอังกฤษ โดยใช้ข้อความว่า “Department of Livestock Development” อยู่ด้านล่างของตราสัญลักษณ์
ปี |
ประวัติกรมปศุสัตว์ |
พ.ศ.2447 |
ได้เริ่มกิจการทางสาขาสัตวแพทย์ขึ้นในกรมช่างไหม กระทรวงเกษตราธิการ |
พ.ศ.2449 |
ได้มีการเปิดสอนวิชาสัตวแพทย์ขึ้นเป็นครั้งแรก |
พ.ศ.2451 |
ได้เปลี่ยนชื่อ "กรมช่างไหม" เป็น "กรมเพาะปลูก" |
พ.ศ.2463 |
ได้มีการจัดตั้งกิจการผสมสัตว์ และกิจการแผนกรักษาสัตว์ขึ้นในกรมเพาะปลูก |
พ.ศ.2474 |
ได้โอนกรมเพาะปลูกไปร่วมกิจการของกองตรวจพันธุ์รุกขชาติ โดยจัดตั้งขึ้นเป็น "กรมตรวจกสิกรรม" สังกัดกระทรวงพาณิชย์และคมนาคม |
พ.ศ.2476 |
หลังการเปลี่ยนแปลงระบบการปกครองแผ่นดิน พ.ศ. 2475 ได้แยกกระทรวงพาณิชย์และคมนาคมออกเป็นกระทรวงคมนาคม และกระทรวงเกษตรพาณิชย์ซึ่งต่อมากระทรวงเกษตรพาณิชย์ได้เปลี่ยนเป็นกระทรวงเศรษฐการ |
พ.ศ.2477 |
กรมตรวจกสิกรรม ได้เปลี่ยนชื่อเป็น "กรมเกษตร" ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น "กรมเกษตรและการประมง" โดยกิจการบำรุงพันธุ์สัตว์ การรักษาและป้องกันโรคสัตว์ได้รวมกันยกฐานะเป็น"กองอุตสาหกรรมสัตวพรรณ" ประกอบด้วย 8 แผนก คือ แผนกวิชาโรคสัตว์ แผนกวัคซีน และซีรั่ม แผนกปราบโรค แผนกด่านกักกันสัตว์ แผนกสัตว์ใหญ่ แผนกสุกร แผนกเป็ดไก่ และแผนกอาหารสัตว์ |
พ.ศ.2481 |
กองอุตสาหกรรมสัตวพรรณ ขยายงานแบ่งออกเป็น 2 กอง คือ กองสัตวรักษ์ และกองสัตวบาล |
5 พฤษภาคม 2485 |
ได้มีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้ง "กรมปศุสัตว์และสัตว์พาหนะ สังกัดกระทรวงเกษตราธิการและมี" การแบ่งส่วนราชการเป็น 4 กอง คือ สำนักงานเลขานุการ กองสัตวบาล กองสัตวรักษ์ และกองสัตวศาสตร์ |
15 กุมภาพันธ์ 2494 |
จัดระเบียบราชการกรมปศุสัตว์และสัตวพาหนะ เป็น 5 กอง ในส่วนกลาง และ 2 หน่วยงาน ในส่วนภูมิภาค |
8 มีนาคม 2495 |
ได้เปลี่ยนชื่อจาก "กรมปศุสัตว์และสัตว์พาหนะ" เป็น "กรมการปศุสัตว์" สังกัดกระทรวงเกษตร ซึ่งเปลี่ยนจาก กระทรวงเกษตราธิการ แบ่งส่วนราชการเป็น 7 กอง ในส่วนกลางและ 3 หน่วยงาน ในส่วนภูมิภาค ในปลายปี ๒๔๙๕ ได้ย้ายที่ตั้งกรมจากข้างป้อมพระสุเมรุ ถนนพระอาทิตย์ มาอยู่ ณ สถานที่ปัจจุบัน ถนนพญาไท เขตราชเทวี กทม. |
26 ธันวาคม 2496 |
กรมการปศุสัตว์ ได้เปลี่ยนชื่อเป็น "กรมปศุสัตว์" สังกัดกระทรวงเกษตร |
21 พฤษภาคม 2500 |
ได้มีพระราชกฤษฎีกาการจัดระเบียบราชการกรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรเป็น 8 กอง ในส่วนกลาง และ 2 หน่วยงาน ในส่วนภูมิภาค |
20 กรกฎาคม 2516 |
ได้มีพระราชกฤษฎีกาจัดระเบียบราชการกรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรเป็น 11 กอง ในส่วนกลาง และ 2 หน่วยงาน ในส่วนภูมิภาค |
22 เมษายน 2522 |
ได้มีพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็น 13 กอง ในส่วนกลาง และ 2 หน่วยงาน ในส่วนภูมิภาค |
21 มกราคม 2527 |
ได้มีพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็น 14 กอง ในส่วนกลาง และ 2หน่วยงาน ในส่วนภูมิภาค |
11 มิถุนายน 2537 |
ได้มีพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็น 16 กอง ในส่วนกลาง และ 2 หน่วยงาน ในส่วนภูมิภาค |
6 มกราคม 2555 |
ได้มีพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็น 25 กอง ในส่วนกลาง และ 1 หน่วยงาน ในส่วนภูมิภาค |
30 ธันวาคม 2557 |
ได้มีพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็น 26 กอง ในส่วนกลาง และ 2 หน่วยงาน ในส่วนภูมิภาค |
ที่มา : สำนักงานเลขานุการกรม รายละเอียด