โรคปากและเท้าเปื่อย สามารถป้องกันได้ โดยการฉีดวัคซีนควรฉีดวัคซีนครั้งแรกตั้งแต่อายุ 4 เดือนถึง 6 เดือน และฉีดครั้งที่ 2 ควรห่างจากฉีดครั้งแรก 3 - 4 สัปดาห์ และฉีดซ้ำทุก 6 เดือน ส่วนโคนมกรมปศุสัตว์แนะนำให้ฉีดวัคซีนทั้งหมด 3 รอบ คือ ธันวาคม เมษายน และสิงหาคม ของทุกปี

นายสัตวแพทย์อภัย สุทธิสังข์ อธิบดีกรมปศุสัตว์ เผยว่า โรคปากและเท้าเปื่อย หรือ เอฟ เอ็ม ดี (FMD) เกิดจากเชื้อไวรัสที่พบในประเทศไทยมี 3 ไทป์ คือ โอ (O) เอ (A) และเอเชียวัน (Asia 1) เชื้อทั้ง 3 ไทป์นี้ จะทำให้สัตว์ป่วยแสดงอาการเหมือนกัน แต่ไม่สามารถให้ภูมิคุ้มกันต่างไทป์ได้ คือถ้าฉีดวัคซีนFMD ไทป์ เอ ให้ หรือสัตว์เคยป่วยเป็นFMD ไทป์ เอ มาก่อน สัตว์จะมีภูมิคุ้มกันเฉพาะต่อโรคFMD ไทป์เอ เท่านั้น แต่จะไม่มีภูมิคุ้มกันต่อโรคในไทป์ โอ หรือ ไทป์ เอเชียวัน ดังนั้นหากมีโรคFMD ไทป์ โอ หรือเอเชียวันระบาดสัตว์ก็อาจจะติดโรคได้ โรคนี้มีระยะฟักตัว ประมาณ 2-8 วัน โดยยืนยันโรคนี้สามารถป้องกันได้โดยการทำวัคซีนป้องกันโรคครบตามกำหนด

โรคปากและเท้าเปื่อยเกิดจากเชื้อไวรัส ไม่มียาที่ใช้สำหรับการรักษาโดยตรง แต่สามารถจะใช้ยาปฏิชีวนะ ยาม่วง ยาพ่นแผลหรือยาทากีบ เพื่อลดการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน โรคนี้สามารถป้องกันได้โดยการฉีดวัคซีน ดังนั้น กรมปศุสัตว์จึงกำหนดให้มีการรณรงค์ฉีดวัคซีนป้องกันโรคปากและเท้าเปื่อยในโคนม พร้อมกับการทำลายเชื้อโรคในพื้นที่เสี่ยง รอบ 2/2560 พร้อมกันทั่วประเทศ โดยให้เกษตรกรบริการวัคซีนภายในเดือนพฤษภาคม 2560 เพื่อให้โคนมมีภูมิคุ้มกันโรค ลดความสูญเสียรายได้จากการระบาดของโรคในฟาร์มโคนมของเกษตรกร โดยกรมปศุสัตว์จะจัดส่งเจ้าหน้าที่เข้าดำเนินการฉีดวัคซีน พร้อมจัดทำข้อมูลประวัติการฉีดวัคซีน ฉีดพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อโรคในพื้นที่เสี่ยง อาทิ คอกพักสัตว์ รถบรรทุกสัตว์ ฯลฯ และประชาสัมพันธ์ให้ความรู้แก่เกษตรกร เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการระบาดของโรค ขอรับการฉีดวัคซีนได้ที่สำนักงานปศุสัตว์อำเภอ สำนักงานปศุสัตว์จังหวัด หรือผ่านสหกรณ์ / ศูนย์รับนมที่ท่านเป็นสมาชิก

เกษตรกรควรหมั่นสังเกต และเอาใจใส่โค กระบือ ของตนเอง ซึ่งจะทำให้เห็นลักษณะอาการของโค-กระบือที่ผิดปกติได้ ซึ่งสัตว์ที่เป็นโรคนี้ จะแสดงอาการความรุนแรงแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับภูมิต้านทานโรค และความแข็งแรงของตัวสัตว์ และปริมาณเชื้อโรค โดยสัตว์จะแสดงลักษณะอาการดังนี้ มีไข้ ซึม เบื่ออาหาร หลังจากนั้นจะมีเม็ดตุ่มพอง เกิดที่ริมฝีปากในช่องปาก เช่น เหงือกและลิ้น ทำให้น้ำลายไหล กินอาหารไม่ได้ และเกิดเม็ดตุ่มที่ระหว่างช่องกีบ ไรกีบ ทำให้เจ็บมาก เดินกะเผลก เมื่อเม็ดตุ่มแตกออกอาจมีเชื้อแบคทีเรียร่วมด้วย ทำให้แผลหายช้าขณะที่โคเป็นโรคจะผอมน้ำนมจะลดลงอย่างมาก ในโคอัตราการติดโรคสูงถึง 100% อัตราการตาย 0.2-5% ในลูกโคอัตราการตายอาจสูงถึง 50-70% โดยเฉพาะอย่างยิ่งลูกโคที่ยังดูดนมอัตราการตายอาจสูงถึง 100%

ด้านการรักษาถ้าไม่มีโรคแทรกซ้อน แผลจะหายเองใน 1-2 สัปดาห์ ถ้าแผลมีการติดเชื้อให้ทำความสะอาดแผล สำหรับที่กีบใส่ยาปฏิชีวนะชนิดที่ใช้ป้ายแผล เช่น ไนโตรฟูราโซน สำหรับที่ปากป้ายด้วยยาสีม่วง (เจนเชียนไวโอเลท)

นอกจากนี้ กรณีที่เกิดโรคปากและเท้าเปื่อยระบาด ให้ฉีดวัคซีนซ้ำทันทีทุกตัว สัตว์จะมีความคุ้มโรคหลังจากฉีดวัคซีน 3 - 4 สัปดาห์ และมีความคุ้มโรคอยู่ได้นาน 6 เดือน

ทั้งนี้ หากเกษตรกรพบตุ่มใสที่ลิ้นอุ้งเท้าไรกีบของโค กระบือ และโคนม ซึ่งมักพบในสัตว์ที่เพิ่งเป็นโรค

ใหม่ๆหากสามารถเก็บน้ำจากตุ่มใสส่งไปได้ก็จะเป็นการดียิ่ง ควรเก็บก่อนที่ตุ่มใสจะแตกโดยใช้ไซริ่งค์ ดูดและเก็บในขวดที่นึ่งฆ่าเชื้อแล้ว แช่ในกระติกน้ำแข็งแล้วรีบนำส่งศูนย์วิจัยและชันสูตรโรคสัตว์ประจำภาค หรือศูนย์โรคปากและเท้าเปื่อยโดยเร็วที่สุด

“ กรมปศุสัตว์ ขอความร่วมมือเกษตรกรผู้เลี้ยงโค-กระบือ โดยเฉพาะโคนมให้ดูแลสัตว์เลี้ยงให้มีสุขภาพสมบูรณ์ แข็งแรง และป้องกันสัตว์ไม่ให้สัมผัสปัจจัยเสี่ยง อาทิ ยานพาหนะเข้า ออก กักสัตว์ก่อนนำเข้าฝูง ฯลฯ พบอาการผิดปกติรีบแจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ในพื้นที่ทันที ” อธิบดีกรมปศุสัตว์กล่าว


ที่มาของข้อมูล

ข้อมูล : กลุ่มควบคุมป้องกันโรคสัตว์เคี้ยวเอื้อง สำนักควบคุม ป้องกัน และบำบัดโรคสัตว์ กรมปศุสัตว์

เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ : น้องนุช สาสะกุล นักวิชาการเผยแพร่ชำนาญการ กรมปศุสัตว์

สำนักงานเลขานุการกรม http://secretary.dld.go.th/index.php/informationdld/newsdld/2644-97-2560


บันทึก
การตั้งค่าความเป็นส่วนตัว
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยยอมรับหรือปฏิเสธ คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่มีความจำเป็น
ยอมรับทั้งหมด
ปฏิเสธทั้งหมด
Essential
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ท่านจำเป็นต้องยอมรับให้เปิดใช้งาน
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ได้แก่ คุกกี้ที่ทำให้เว็บไซต์สามารถทำหน้าที่ขั้นพื้นฐาน เช่น การเลื่อนสำรวจหน้าเว็บไซต์ หรือ ทำให้ผู้เข้าชม/ผู้ใช้เว็บไซต์สามารถเข้าสู่ระบบและสามารถเข้าถึงส่วนของเว็บไซต์ที่ถูกสงวนไว้ให้ใช้ได้เฉพาะสมาชิกเท่านั้น เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานอย่างถูกต้องได้เลยหากไม่มีการเก็บรวบรวมคุกกี้เหล่านี้
ยอมรับ
Functional
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยยอมรับหรือปฏิเสธ คุกกี้ในแต่ละประเภทดังต่อไปนี้
คุกกี้ที่ช่วยเหลือในการทำงาน
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม โดยเป็นคุกกี้ประเภทที่ทำให้เว็บไซต์สามารถช่วยเหลือหรืออำนวยความสะดวกในการใช้งานให้ท่านได้
ยอมรับ
ปฏิเสธ
คุกกี้เพื่อประสิทธิภาพ
คุกกี้ประเภทนี้ ทำให้ผู้ให้บริการเว็บไซต์ที่คุณเข้าใช้งาน สามารถรับรู้ข้อมูลประสิทธิภาพเว็บไซต์ได้ เช่น จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ จำนวนการเข้าชมเว็บไซต์ แหล่งที่มาของผู้เข้าชม และหน้าเว็บไซต์ใดที่ได้รับความนิยมมากที่สุดหรือน้อยที่สุด เป็นต้น โดยกรมปศุสัตว์จะนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านสถิติเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ เท่านั้น
ยอมรับ
ปฏิเสธ
คุกกี้เพื่อกำหนดเป้าหมาย
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม เนื่องจากเว็บไซต์กรมปศุสัตว์มีการเชื่อมโยงลิงค์ไปยังเว็บไซต์ภายนอก ซึ่งเว็บไซต์อื่นหรือโซเชียลมีเดียของบุคคลที่สามจะมีการกำหนดและตั้งค่าคุกกี้ขึ้นมาเอง โดยกรมปศุสัตว์ไม่สามารถควบคุมหรือรับผิดชอบต่อคุกกี้เหล่านั้นได้ และขอแนะนำให้ท่านควรอ่านนโยบายหรือประกาศการใช้คุกกี้ของบุคคลภายนอกเหล่านั้นด้วย โดยคุกกี้ดังกล่าว จะทำการจัดเก็บข้อมูลการเข้าชมเว็บไซต์ของท่าน เช่น ท่านเข้าชมเว็บไซต์ใดบ้าง และเข้าชมเว็บไซต์ผ่านทางลิงก์ใดบ้าง เป็นต้น โดยผู้ให้บริการจะใช้ข้อมูลเหล่านี้เพื่อกำหนดให้เว็บไซต์ และโฆษณาที่ถูกจัดแสดงในเว็บไซต์ของบริษัทฯ เว็บไซต์ในเครือข่ายพันธมิตรของผู้ให้บริการโฆษณา มีความเกี่ยวข้องกับความสนใจของท่านมากขึ้น
ยอมรับ
ปฏิเสธ