pic01

นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวว่า จากราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่พุ่งสูงสุดในรอบ 13 ปี มากกว่า 20% เป็นประวัติการณ์ของวงการเลี้ยงสัตว์ โดยเฉพาะข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เมล็ดถั่วเหลืองและกากถั่วเหลือง สร้างปัญหาและภาระค่าใช้จ่ายด้านการผลิตของเกษตรกรผู้เลี้ยงหมูและไก่ แบกภาระเพิ่มขึ้น 20-30% ซึ่งวัตถุดิบอาหารสัตว์คิดเป็นต้นทุนหลัก 60-70% ของการเลี้ยงสัตว์และยังมีผลต่อเนื่องไปยังห่วงโซ่อุปทานปลายทางคือราคาเนื้อสัตว์ปรับตัวสูงขึ้นด้วย ทั้งการบริโภคภายในประเทศและส่งออกต่างประเทศ และเพื่อเป็นการช่วยเหลือชาวนาเพาะปลูกข้าวที่ปีนี้ฝนดีข้าวนาปีทะลัก คาดว่าจะมีข้าวเปลือกปริมาณไม่ต่ำกว่า 25 ล้านตัน ทำให้ราคาข้าวตกต่ำ เนื่องจากมีการผลิตข้าวส่วนเกิน 4-5 ล้านตัน กรมปศุสัตว์จึงได้มีแนวทางช่วยเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์และชาวนา โดยกู้วิกฤตการณ์วัตถุดิบอาหารสัตว์ราคาแพงและวิฤตการณ์ข้าวเปลือกราคาถูก โดยการปรับประยุกต์รูปแบบการเลือกใช้ข้าวเป็นวัตถุดิบเพื่อเป็นแหล่งพลังงานในอาหารสัตว์เป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับการจัดการด้านอาหารสัตว์ตามสถานการณ์ปริมาณ และราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา (dynamic change) เช่น การเพิ่มสัดส่วนการใช้ข้าวเปลือกบดในอาหารสุกรและสัตว์ปีกในช่วงอายุและปริมาณที่เหมาะสม แต่ควรมีข้อควรระวังในการใช้วัตถุดิบแต่ละชนิดในการประกอบสูตรอาหารให้เหมาะสมตามช่วงอายุการผลิตและประสิทธิภาพการย่อยและการดูดซึมอาหารระบบทางเดินอาหาร โดยทั่วไปแล้วข้าวเปลือกบดไม่สามารถใช้ได้เกิน 20% ในสูตรอาหารสุกรและสัตว์ปีกระยะให้ไข่ อย่างไรก็ตามไม่ควรใช้ข้าวเปลือกบดประกอบสูตรอาหารสุกรและสัตว์ปีกระยะเล็ก

ข้าวเปลือกบด (ground paddy rice) เป็นวัตถุดิบอาหารที่เกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรนิยมใช้ในการเลี้ยงสัตว์กันอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะในช่วงที่ปลายข้าวมีราคาแพง และข้าวเปลือกมีราคาถูก ข้าวเปลือกบดได้จากการเอาข้าวเปลือกทั้งเมล็ดมาบดให้ละเอียด มีองค์ประกอบคุณค่าทางอาหารโดยประมาณ ดังนี้ คือ ความชื้น 10% โปรตีน 8.2% เยื่อใย 9.2% ไขมัน 1.9% เถ้า 6.5% และคาร์โบไฮเดรตย่อยง่าย (NFE) 62.4% พบว่าข้าวเปลือกบดมีปริมาณเยื่อใยสูง มีส่วนของเปลือกข้าวหรือแกลบเป็นองค์ประกอบ เมล็ดข้าวจะมีส่วนของแกลบประมาณ 20-25% ซึ่งส่วนของแกลบจะมีเยื่อใยและสารซิลิกา (silica) ประมาณ 40% และ 11-19% ตามลำดับ นอกจากนี้มีการใช้ข้าวกล้องบดหรือ ข้าวแดงบด (ground brown rice) สามารถใช้เป็นอาหารสัตว์ได้ ประกอบด้วยรำละเอียด และข้าวสารหรือปลายข้าวผสมกัน มีองค์ประกอบคุณค่าทางอาหาร โดยข้าวกล้องมีเยื่อใยอยู่ในระดับต่ำ และมีคุณค่าทางอาหารใกล้เคียงกับปลายข้าวมาก จึงสามารถใช้ทดแทนปลายข้าวในสูตรอาหารสัตว์ชนิดต่างๆ ไม่มีปัญหาเกี่ยวกับความฟ่าม การเป็นฝุ่น และไม่มีปัญหาเกี่ยวกับสารไฟติน ดังนั้นข้าวกล้องหรือข้าวกะเทาะเปลือกสามารถใช้เป็นวัตถุดิบแหล่งพลังงานในอาหารสัตว์ได้ มีคุณค่าทางโภชนะใกล้เคียงกับข้าวโพดและปลายข้าวจึงสามารถใช้ทดแทนปลายข้าวในสูตรอาหารสัตว์ชนิดต่างๆ ได้ดี

อธิบดีกรมปศุสัตว์กล่าวเพิ่มเติมว่า นับเป็นอีกหนึ่งแนวทางเลือกและข่าวดีในวงการปศุสัตว์ ที่สามารถใช้ข้าวเป็นวัตถุดิบทดแทนเพื่อเป็นแหล่งพลังงานในอาหารสัตว์เป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับการจัดการด้านอาหารสัตว์ โดยสามารถช่วยลดต้นทุนด้านการผลิตของเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ด้านอาหารสัตว์ นำข้าวกล้องหรือข้าวกระเทาะเปลือกเป็นแหล่งพลังงานหลักทดแทนวัตถุดิบข้าวโพด ข้าวสาลี เมล็ดถั่วเหลืองและกากถั่วเหลืองได้ นอกจากนี้ ยังเป็นการช่วยเหลือชาวนาปลูกข้าว โดยการใช้วัตถุดิบข้าวภายในประเทศมาผลิตเป็นอาหารสัตว์ เป็นการแก้ปัญหาต่อเนื่องได้อย่างยั่งยืน ตลอดห่วงโซ่อุปทานการผลิตต่อไป

ที่มา: สำนักพัฒนาอาหารสัตว์ กรมปศุสัตว์ ข่าวปศุสัตว์


บันทึก
การตั้งค่าความเป็นส่วนตัว
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยยอมรับหรือปฏิเสธ คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่มีความจำเป็น
ยอมรับทั้งหมด
ปฏิเสธทั้งหมด
Essential
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ท่านจำเป็นต้องยอมรับให้เปิดใช้งาน
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ได้แก่ คุกกี้ที่ทำให้เว็บไซต์สามารถทำหน้าที่ขั้นพื้นฐาน เช่น การเลื่อนสำรวจหน้าเว็บไซต์ หรือ ทำให้ผู้เข้าชม/ผู้ใช้เว็บไซต์สามารถเข้าสู่ระบบและสามารถเข้าถึงส่วนของเว็บไซต์ที่ถูกสงวนไว้ให้ใช้ได้เฉพาะสมาชิกเท่านั้น เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานอย่างถูกต้องได้เลยหากไม่มีการเก็บรวบรวมคุกกี้เหล่านี้
ยอมรับ
Functional
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยยอมรับหรือปฏิเสธ คุกกี้ในแต่ละประเภทดังต่อไปนี้
คุกกี้ที่ช่วยเหลือในการทำงาน
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม โดยเป็นคุกกี้ประเภทที่ทำให้เว็บไซต์สามารถช่วยเหลือหรืออำนวยความสะดวกในการใช้งานให้ท่านได้
ยอมรับ
ปฏิเสธ
คุกกี้เพื่อประสิทธิภาพ
คุกกี้ประเภทนี้ ทำให้ผู้ให้บริการเว็บไซต์ที่คุณเข้าใช้งาน สามารถรับรู้ข้อมูลประสิทธิภาพเว็บไซต์ได้ เช่น จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ จำนวนการเข้าชมเว็บไซต์ แหล่งที่มาของผู้เข้าชม และหน้าเว็บไซต์ใดที่ได้รับความนิยมมากที่สุดหรือน้อยที่สุด เป็นต้น โดยกรมปศุสัตว์จะนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านสถิติเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ เท่านั้น
ยอมรับ
ปฏิเสธ
คุกกี้เพื่อกำหนดเป้าหมาย
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม เนื่องจากเว็บไซต์กรมปศุสัตว์มีการเชื่อมโยงลิงค์ไปยังเว็บไซต์ภายนอก ซึ่งเว็บไซต์อื่นหรือโซเชียลมีเดียของบุคคลที่สามจะมีการกำหนดและตั้งค่าคุกกี้ขึ้นมาเอง โดยกรมปศุสัตว์ไม่สามารถควบคุมหรือรับผิดชอบต่อคุกกี้เหล่านั้นได้ และขอแนะนำให้ท่านควรอ่านนโยบายหรือประกาศการใช้คุกกี้ของบุคคลภายนอกเหล่านั้นด้วย โดยคุกกี้ดังกล่าว จะทำการจัดเก็บข้อมูลการเข้าชมเว็บไซต์ของท่าน เช่น ท่านเข้าชมเว็บไซต์ใดบ้าง และเข้าชมเว็บไซต์ผ่านทางลิงก์ใดบ้าง เป็นต้น โดยผู้ให้บริการจะใช้ข้อมูลเหล่านี้เพื่อกำหนดให้เว็บไซต์ และโฆษณาที่ถูกจัดแสดงในเว็บไซต์ของบริษัทฯ เว็บไซต์ในเครือข่ายพันธมิตรของผู้ให้บริการโฆษณา มีความเกี่ยวข้องกับความสนใจของท่านมากขึ้น
ยอมรับ
ปฏิเสธ