S 14549067

นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ตั้งเป้าหมายที่จะผลิตโคเนื้อให้เพียงพอต่อความต้องการของตลาด โดยนำเทคโนโลยีชีวภาพด้านการผลิตปศุสัตว์ การย้ายฝากตัวอ่อนมาใช้ในการขับเคลื่อนการดำเนินงาน มุ่งเน้นการสร้างพ่อแม่พันธุ์แท้ชั้นเยี่ยมจากการย้ายฝากตัวอ่อน เพื่อเป็นการลดการนำเข้าพ่อแม่โคเนื้อพันธุ์แท้จากต่างประเทศ โดยนำเข้าตัวอ่อนแช่แข็งพันธุ์แท้จากต่างประเทศ นำไปย้ายฝากตัวอ่อนในแม่ตัวรับของเกษตรกร ในส่วนของเกษตรกรสามารถนำลูกโคเพศเมียพันธุ์แท้ไปผลิตตัวอ่อนโคเนื้อที่มีคุณภาพ และลูกโคเพศผู้เกษตรกรสามารถนำลูกไปผลิตน้ำเชื้อเมื่อได้ลูกโคเพศผู้และเพศเมียพันธุ์แท้ เกษตรกรจะต้องส่งคืนลูกโคพันธุ์แท้ให้กรมปศุสัตว์ ร้อยละ 50 ซึ่งกรมปศุสัตว์สามารถนำลูกโคเพศเมียพันธุ์แท้ไปผลิตตัวอ่อนโคพันธุ์แท้ต่อไป และลูกโคเพศผู้สามารถคัดเลือกเป็นพ่อพันธุ์เพื่อผลิตน้ำเชื้อกระจายพันธุกรรมดี ผลิตน้ำเชื้อแข็งเพื่อการจำหน่ายในเชิงพาณิชย์ รวมทั้งลดและยกเลิกการนำเข้าเนื้อโคและโคมีชีวิตและสามารถจะกระตุ้นการเพิ่มประชากรโคเนื้อได้อย่างกว้างขวางในประเทศต่อไป

นายสัตวแพทย์ประภาส ภิญโญชีพ รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ เข้าพื้นที่ตรวจเยี่ยมโครงการเพิ่มศักยภาพการผลิตโคเนื้อด้วยเทคโนโลยีชีวภาพ ในพื้นที่จังหวัดมุกดาหาร เผยว่า เป็นโครงการที่กรมปศุสัตว์ตั้งเป้าหมายในการกระจายโคเนื้อพันธุ์แท้ไปยังพี่น้องเกษตรกร โดยใช้เทคโนโลยีการย้ายฝากตัวอ่อน โคเนื้อพันธุ์แท้ (พันธุ์แองกัส /บีฟมาสเตอร์/ วากิว/ บราห์มันแดง) นำไปย้ายฝากให้กับแม่โคของเกษตรกรที่ผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการ รายละ 6 ตัว เมื่อมีลูกเกิดจากการย้ายฝากตัวอ่อนซึ่งเป็นโคเนื้อพันธุ์แท้ จะเป็นของเกษตรกร 50% ส่วนอีก 50% ต้องส่งคืนให้กรมปศุสัตว์ โดยกรมปศุสัตว์จะนำไปคัดเลือกเป็นพ่อแม่พันธุ์ เพื่อผลิตตัวอ่อน และผลิตน้ำเชื้อแช่แข็ง ต่อยอดการขยายสัตว์พันธุ์ดีให้กับพี่น้องเกษตรกรต่อไป

ทั้งนี้ ในการดำเนินโครงการฯ ดังกล่าว กรมปศุสัตว์ได้รับงบประมาณจากการกู้ยืมเพื่อแก้ไขปัญหาเยียวยาและฟื้นฟูทางเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค โควิด-19 ปี 2563 โดยได้รับงบประมาณจาก โครงการเพิ่มศักยภาพการผลิตโคเนื้อด้วยเทคโนโลยีชีวภาพ กว่า 75,621,800 ล้านบาท ดำเนินการจัดซื้อตัวอ่อนโคเนื้อพันธุ์แท้จากต่างประเทศจำนวน 4 สายพันธุ์ ดังนี้ 1) ตัวอ่อนพันธุ์อเมริกันบราห์มันแดง 2) ตัวอ่อนพันธุ์บีฟมาสเตอร์ 3) ตัวอ่อนพันธุ์วากิว 4) ตัวอ่อนพันธุ์แองกัส จำนวนทั้งสิ้น 2,100 ตัวอ่อน กรมปศุสัตว์ โดยสำนักเทคโนโลยีชีวภาพการผลิตปศุสัตว์ ได้ดำเนินการฝากตัวอ่อนให้แก่เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการตั้งแต่เดือน ธันวาคม 2564 และได้ลูกโคที่เกิดจากการฝากตัวอ่อนตัวแรกของโครงการฯ จากฟาร์มเกษตรกร ดังนี้

ลูกโคเนื้อพันธุ์แท้ที่ได้จากการย้ายฝากตัวอ่อน 2 ตัวแรก ของโครงการฯ ที่ฟาร์มนายอวิรุทธ์ แสนหัวห้าว ที่บ้านหมู่11 บ้านนาตะแบง ตำบลคำป่าหลาย อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร โดยในฟาร์มมีแม่โคเนื้อมากกว่า 100 ตัว มีแม่โคเนื้อที่ผ่านคัดเลือก 10 ตัว เข้าร่วมในโครงการเพิ่มศักยภาพการผลิตโคเนื้อด้วยเทคโนโลยีชีวภาพ และสามารถคัดเลือกแม่ตัวรับที่พร้อมในการรับฝากตัวอ่อนมี 6 ตัว ดังนี้ 1.) เบอร์704 พันธุ์ CHA50 AB50 ฝากพันธุ์แองกัส เมื่อวันที่ 9/12/64 คลอด 3/9/65 เพศเมีย 2.)เบอร์805 พันธุ์ CHA50 AB50 ฝากพันธุ์แองกัส เมื่อวันที่ 9/12/64 กำหนดคลอด 9/9/65 3.) เบอร์1/36 พันธุ์ AN50 NA50ฝากแองกัส เมื่อวันที่9/12/64กลับสัด ไม่ทัอง 4.) เบอร์319 พันธุ์ CHA50 AB50 ฝากบีฟมาสเตอร์ เมื่อวันที่ 9/12/64 กลับสัดไม่ท้อง 5.) เบอร์ A พันธุ์ CHA50 AB50ฝากบีฟมาสเตอร์ เมื่อวันที่20/3/65 กลับสัด ไม่ท้อง 6.) เบอร์118 พันธุ์ วากิว 50 NA50 ฝากบีฟมาสเตอร์ เมื่อวันที่27/3/65 ไม่ท้อง กลับสัด

สรุปผลในดำเนินการย้ายฝากตัวอ่อนตามโครงการฯ ฝากตัวอ่อนแองกัส 3 ตัว ท้อง 2 ตัว ฝากตัวอ่อนบีฟมาสเตอร์ 3 ตัว ไม่ท้อง

ภาพ : กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ / ข้อมูล : คณะทำงานโฆษก กรมปศุสัตว์


บันทึก
การตั้งค่าความเป็นส่วนตัว
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยยอมรับหรือปฏิเสธ คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่มีความจำเป็น
ยอมรับทั้งหมด
ปฏิเสธทั้งหมด
Essential
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ท่านจำเป็นต้องยอมรับให้เปิดใช้งาน
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ได้แก่ คุกกี้ที่ทำให้เว็บไซต์สามารถทำหน้าที่ขั้นพื้นฐาน เช่น การเลื่อนสำรวจหน้าเว็บไซต์ หรือ ทำให้ผู้เข้าชม/ผู้ใช้เว็บไซต์สามารถเข้าสู่ระบบและสามารถเข้าถึงส่วนของเว็บไซต์ที่ถูกสงวนไว้ให้ใช้ได้เฉพาะสมาชิกเท่านั้น เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานอย่างถูกต้องได้เลยหากไม่มีการเก็บรวบรวมคุกกี้เหล่านี้
ยอมรับ
Functional
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยยอมรับหรือปฏิเสธ คุกกี้ในแต่ละประเภทดังต่อไปนี้
คุกกี้ที่ช่วยเหลือในการทำงาน
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม โดยเป็นคุกกี้ประเภทที่ทำให้เว็บไซต์สามารถช่วยเหลือหรืออำนวยความสะดวกในการใช้งานให้ท่านได้
ยอมรับ
ปฏิเสธ
คุกกี้เพื่อประสิทธิภาพ
คุกกี้ประเภทนี้ ทำให้ผู้ให้บริการเว็บไซต์ที่คุณเข้าใช้งาน สามารถรับรู้ข้อมูลประสิทธิภาพเว็บไซต์ได้ เช่น จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ จำนวนการเข้าชมเว็บไซต์ แหล่งที่มาของผู้เข้าชม และหน้าเว็บไซต์ใดที่ได้รับความนิยมมากที่สุดหรือน้อยที่สุด เป็นต้น โดยกรมปศุสัตว์จะนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านสถิติเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ เท่านั้น
ยอมรับ
ปฏิเสธ
คุกกี้เพื่อกำหนดเป้าหมาย
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม เนื่องจากเว็บไซต์กรมปศุสัตว์มีการเชื่อมโยงลิงค์ไปยังเว็บไซต์ภายนอก ซึ่งเว็บไซต์อื่นหรือโซเชียลมีเดียของบุคคลที่สามจะมีการกำหนดและตั้งค่าคุกกี้ขึ้นมาเอง โดยกรมปศุสัตว์ไม่สามารถควบคุมหรือรับผิดชอบต่อคุกกี้เหล่านั้นได้ และขอแนะนำให้ท่านควรอ่านนโยบายหรือประกาศการใช้คุกกี้ของบุคคลภายนอกเหล่านั้นด้วย โดยคุกกี้ดังกล่าว จะทำการจัดเก็บข้อมูลการเข้าชมเว็บไซต์ของท่าน เช่น ท่านเข้าชมเว็บไซต์ใดบ้าง และเข้าชมเว็บไซต์ผ่านทางลิงก์ใดบ้าง เป็นต้น โดยผู้ให้บริการจะใช้ข้อมูลเหล่านี้เพื่อกำหนดให้เว็บไซต์ และโฆษณาที่ถูกจัดแสดงในเว็บไซต์ของบริษัทฯ เว็บไซต์ในเครือข่ายพันธมิตรของผู้ให้บริการโฆษณา มีความเกี่ยวข้องกับความสนใจของท่านมากขึ้น
ยอมรับ
ปฏิเสธ