ตามที่มีข่าวโรคติดเชื้ออีโบลา หรือ โรคไข้เลือดออกอีโบลา ระบาดในทวีปอาฟริกา  โดยเฉพาะในอาฟริกาตะวันตก  ได้แก่  เซียร์ร่ารีโอน กินี และไลบีเรีย  ซึ่งในปีนี้ องค์การอนามัยโลกรายงานว่า มีผู้ป่วยติดเชื้อมากกว่า 1,323  ราย และเสียชีวิต  729  ราย  (ข้อมูลถึงวันที่ 27 กรกฎาคม 2557)


                   นายสัตวแพทย์ทฤษดี ชาวสวนเจริญ อธิบดีกรมปศุสัตว์ เปิดเผยว่า โรคอีโบลาเกิดจากเชื้อไวรัสตระกูล Filoviridae  ทำให้เกิดโรคในคนและลิง มีระยะฟักตัว 2 - 21 วัน ผู้ป่วยจะมีอาการไข้สูงเฉียบพลัน อ่อนเพลีย  คลื่นไส้  อาเจียน  ท้องเสีย  มีการอักเสบของตับ ไต รวมถึงมีเลือดออกคล้ายโรคไข้เลือดออก  อาเจียนเป็นเลือด  เลือดกำเดาไหล  มีเลือดออกในอวัยวะภายใน  จะตายภายในสัปดาห์ที่ 2  อัตราการป่วยตายร้อยละ 50 – 90  ยังไม่มียารักษาเฉพาะหรือวัคซีนป้องกันโรค  ต้องรักษาตามอาการ  อัตราการรอดร้อยละ 40  เชื้อนี้ติดต่อจากคนสู่คน แต่การแพร่กระจายเชื้อค่อนข้างต่ำ  ยังไม่พบการติดต่อกันทางระบบทางเดินหายใจ  การติดเชื้อต้องสัมผัสเชื้อโดยตรงจาก  สารคัดหลั่งของผู้ป่วย  เช่นอาเจียน  ปัสสาวะ  อุจจาระ น้ำตา น้ำลาย สำหรับผิวหนังปกติที่ไม่มีบาดแผล   จะสามารถป้องกันการเข้าสู่ร่างกายของเชื้อโรคได้

               
                 อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวเพิ่มเติมว่า โอกาสที่เชื้ออีโบลาจะเข้าสู่ประเทศไทยค่อนข้างต่ำ  ในส่วนของกรมปศุสัตว์ได้มีการเข้มงวดมาตรการการนำเข้าสัตว์และซากสัตว์ แต่สัตว์ป่าอยู่ในความรับผิดชอบดูแลของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และก็ได้มีหน่วยงานต่างๆ รวมถึงมหาวิทยาลัยทำการสำรวจค้างคาวและลิง โดยผลการตรวจพบว่าเป็นลบทั้งหมด  อย่างไรก็ตาม สถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ กรมปศุสัตว์ ได้พัฒนาวิธีการตรวจโรคอีโบลา  โดยวิธีทางชีวโมเลกุล (Polymerase Chain Reaction : PCR) และมีแผนสุ่มตรวจโรคอีโบลาในลิงจากประเทศที่มีความเสี่ยง ที่มีอยู่ในประเทศไทยตามสวนสัตว์ต่างๆ โดยเฉพาะลิงป่วย

               

                “  ข้อแนะนำในการป้องกันโรคที่สำคัญ  คือ ไม่ควรนำเข้าลิงจากประเทศที่มีความเสี่ยง ในทวีป   อาฟริกา  หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ก็จะต้องกักสัตว์ดูอาการประมาณ 1  เดือน และตรวจตัวอย่างจากสัตว์ดังกล่าว เพื่อหาแอนติเจนของเชื้อไวรัสอีโบลา โดยสามารถส่งตรวจได้ที่สถาบันสุขภาพสัตว์แห่งขาติ กรมปศุสัตว์ ”  อธิบดีกล่าว


บันทึก
การตั้งค่าความเป็นส่วนตัว
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยยอมรับหรือปฏิเสธ คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่มีความจำเป็น
ยอมรับทั้งหมด
ปฏิเสธทั้งหมด
Essential
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ท่านจำเป็นต้องยอมรับให้เปิดใช้งาน
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ได้แก่ คุกกี้ที่ทำให้เว็บไซต์สามารถทำหน้าที่ขั้นพื้นฐาน เช่น การเลื่อนสำรวจหน้าเว็บไซต์ หรือ ทำให้ผู้เข้าชม/ผู้ใช้เว็บไซต์สามารถเข้าสู่ระบบและสามารถเข้าถึงส่วนของเว็บไซต์ที่ถูกสงวนไว้ให้ใช้ได้เฉพาะสมาชิกเท่านั้น เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานอย่างถูกต้องได้เลยหากไม่มีการเก็บรวบรวมคุกกี้เหล่านี้
ยอมรับ
Functional
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยยอมรับหรือปฏิเสธ คุกกี้ในแต่ละประเภทดังต่อไปนี้
คุกกี้ที่ช่วยเหลือในการทำงาน
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม โดยเป็นคุกกี้ประเภทที่ทำให้เว็บไซต์สามารถช่วยเหลือหรืออำนวยความสะดวกในการใช้งานให้ท่านได้
ยอมรับ
ปฏิเสธ
คุกกี้เพื่อประสิทธิภาพ
คุกกี้ประเภทนี้ ทำให้ผู้ให้บริการเว็บไซต์ที่คุณเข้าใช้งาน สามารถรับรู้ข้อมูลประสิทธิภาพเว็บไซต์ได้ เช่น จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ จำนวนการเข้าชมเว็บไซต์ แหล่งที่มาของผู้เข้าชม และหน้าเว็บไซต์ใดที่ได้รับความนิยมมากที่สุดหรือน้อยที่สุด เป็นต้น โดยกรมปศุสัตว์จะนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านสถิติเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ เท่านั้น
ยอมรับ
ปฏิเสธ
คุกกี้เพื่อกำหนดเป้าหมาย
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม เนื่องจากเว็บไซต์กรมปศุสัตว์มีการเชื่อมโยงลิงค์ไปยังเว็บไซต์ภายนอก ซึ่งเว็บไซต์อื่นหรือโซเชียลมีเดียของบุคคลที่สามจะมีการกำหนดและตั้งค่าคุกกี้ขึ้นมาเอง โดยกรมปศุสัตว์ไม่สามารถควบคุมหรือรับผิดชอบต่อคุกกี้เหล่านั้นได้ และขอแนะนำให้ท่านควรอ่านนโยบายหรือประกาศการใช้คุกกี้ของบุคคลภายนอกเหล่านั้นด้วย โดยคุกกี้ดังกล่าว จะทำการจัดเก็บข้อมูลการเข้าชมเว็บไซต์ของท่าน เช่น ท่านเข้าชมเว็บไซต์ใดบ้าง และเข้าชมเว็บไซต์ผ่านทางลิงก์ใดบ้าง เป็นต้น โดยผู้ให้บริการจะใช้ข้อมูลเหล่านี้เพื่อกำหนดให้เว็บไซต์ และโฆษณาที่ถูกจัดแสดงในเว็บไซต์ของบริษัทฯ เว็บไซต์ในเครือข่ายพันธมิตรของผู้ให้บริการโฆษณา มีความเกี่ยวข้องกับความสนใจของท่านมากขึ้น
ยอมรับ
ปฏิเสธ