วันที่ 3 กันยายน 2565 เวลา15.00 น. สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปยังกองพันทหารราบ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก ทรงติดตามความก้าวหน้าโครงการทหารพันธุ์ดี กองพันทหารราบ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า เริ่มดำเนินการเมื่อปี 2563 ในพื้นที่ว่างเปล่า 53 ไร่ เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้แก่ข้าราชการ นักเรียนนายร้อย และทหารกองประจำการ เรื่องการทำเกษตรปลอดภัย การทดลองหาประสบการณ์ในการผลิตเมล็ดพันธุ์ผักพระราชทาน การปศุสัตว์ การประมง ให้สามารถนำองค์ความรู้ไปต่อยอด ขยายผล เป็นแหล่งเรียนรู้ และแหล่งอาหาร โดยนายสัตวแพทย์ สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ทูลเกล้าถวายรายงานผลการร่วมปฏิบัติงานโครงการเกษตรรวมใจ อันเนื่องมาจากพระราชดำริในปีงบประมาณ 2565 พร้อมด้วยนายบุญศักดิ์ เกลียวกมลทัต (ที่ปรึกษาการดำเนินโครงการทหารพันธุ์ดีและโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ) นายสุนทร รัตนจำรูญ ปศุสัตว์จังหวัดนครนายก,ผอ.กพก,และเจ้าหน้าที่กรมปศุสัตว์ร่วมเฝ้ารับเสด็จ
อธิบดีกรมปศุสัตว์ทูลเกล้าถวายรายงานผลการร่วมปฏิบัติงานโครงการเกษตรรวมใจ อันเนื่องมาจากพระราชดำริในปีงบประมาณ2565 แด่สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้าฯ โดยกรมปศสัตว์ได้สนับสนุนการดำเนินงานโครงการเกษตรรวมใจ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ดังนี้
1. ไก่งวงพันธุ์อเมริกันบรอนช์ American Bronze ชื่อวิทยาศาสตร์ Meleagris gallopavo พันธุ์
อเมริกันบรอนช์ (American Bornze)ลักษณะประจำพันธุ์จัดเป็นไก่งวงพันธุ์หนัก ขนสีบรอนซ์ปนน้ำตาล ดำ ปลายขนสีขาว
เล็กน้อย แข้งและนิ้วเท้าสีเทาอ่อนปนชมพูอ่อน ตาสีน้ำตาล จะงอยปากสีเทาอ่อน มีนิสัยการฟักไข่และเลี้ยงลูก สามารถหาอาหารกินเองได้
ตามธรรมชาติ เช่นเศษอาหาร หญ้าสด ปริมาณการไข่ ให้ผลผลิตไข่ประมาณ 70ฟอง/ตัว/ปี น้ำหนักมาตรฐานเพศผู้15 กิโลกรัมเพศ
เมีย7กิโลกรัม พันธุ์อเมริกันบรอนซ์ ผลผลิตไข่70ฟอง/ปีน้ำหนักเมื่ออายุ 5 เดือนเพศผู้ประมาณ11 กิโลกรัมเพศเมียประมาณ 7
กิโลกรัมน้ำหนักเมื่อโตเต็มที่เพศผู้ ประมาณ 15 กิโลกรัม เพศเมียประมาณ 9 กิโลกรัม
2. ไก่งวง พันธุ์เบลท์สวิลล์ สมอลไวท์ Beltsvill Small Whiteชื่อวิทยาศาสตร์Meleagris
gallopavoพันธุ์เบลท์สวิลล์ สมอลไวท์ (Beltsvill Small White)ลักษณะประจำพันธุ์ พันธุ์เบลท์สวิลล์
สมอลไวท์ (Beltsvil Smal! White) มีขนาดลำตัวปานกลาง และขนาดเล็กขนสีขาว หนังสีขาว แข้งและนิ้วเท้าสี
ชมพูซีด ตาสีน้ำตาล จงอยปากสีเทา ปริมาณการไข่ ให้ผลผลิตไข่ประมาณ 80 ฟอง/ตัว/ปี น้ำหนักมาตรฐาน ไก่งวง เพศผู้ น้ำหนักประมาณ
7.7 กิโลกรัม ไก่งวง เพศเมีย น้ำหนักประมาณ 5 กิโลกรัม เพศผู้หนุ่ม น้ำหนักประมาณ 6.7 กิโลกรัม เพศเมียสาว น้ำหนัก ประมาณ 4
กิโลกรัม ข้อสังเกต ตัวผู้ จะมีขนคล้ายผมสีดำ แข็ง ติดอยู่ตรงบริเวณหน้าอกและตัวเมีย ก็มีโอกาสพบขนสีดำ ลักษณะทางเศรษฐกิจพันธุ์
เบลท์สวิลล์ สมอลไวท์ ผลผลิตไข่ 80 ฟอง/ปี น้ำหนักเมื่ออายุ 5 เดือน เพศผู้ประมาณ 6.7 กิโลกรัม เพศเมียประมาณ 4 กิโลกรัมน้ำหนัก
เมื่อโตเต็มที่เพศผู้ ประมาณ 7.7 กิโลกรัม เพศเมีย ประมาณ 5 กิโลกรัม
3.เป็ดเทศกบินทร์บุรี Kabinburi Muscovyเป็ดเทศ
กบินทร์บุรี (Kabinburi Muscovy)ชื่อวิทยาศาสตร์ Cairina moschata เป็นเป็ดเทศที่กรมปศุสัตว์
ได้ปรับปรุงและพัฒนาพันธุ์มาจากเป็ดเทศพันธุ์บาร์บสรี (Barbary)ได้รับการสนับสนุนพันธุ์จากภาคเอกชนเมื่อปี 2534จำนวน 80
ตัว ซึ่งนำเข้ามาจากประเทศฝรั่งเศส โดยสถานีบำรุงพันธุ์สัตว์บางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา ได้ดำเนินการขยายพันธุ์ กัดเลือก และปรับปรุง
พันธุ์ เพศผู้ จะมีขนาดใหญ่กว่าเพศเมียดวงตากลมสีลายฟ้าดำ ปากสีชมพูอ่อน มีผิวขรุขระเด่นชัดเต็มใบหน้า แข้งและเท้าสีเหลือง หัวมี
จุดดำเพศเมีย มีลักษณะเหมือนเพศผู้ แต่ใบหน้าจะมีผิวขรุขระบ้างเล็กน้อยลักษณะทางเศรษฐกิจน้ำหนักแรกเกิด52-54 กรัม 2 อายุเมื่อ
ไข่ฟองแรก6-7 เดือน3น้ำหนักเมื่อไข่ฟองแรก 2.4-2.6 เดือนน้ำหนักไข่ฟองแรก58 -60 กรัมผลผลิตไข่ละ160
-180ฟองน้ำหนักเมื่อโตเต็มที่ (12 เดือน) เพศผู้หนัก 4.5 - 5.1 กิโลกรัมเพศเมียหนัก 2.8-3.2 กิโถกรัมสามารถเลี้ยงขุน โดยใช้เวลา10
-12 สัปดาห์
นอกจากนี้อธิบดีกรมปศุสัตว์น้อมเกล้าฯถวายไก่งวง จำนวน 24 ตัว 1.ไก่งวงพันธุ์ อเมริกันบรอนซ์ พ่อพันธุ์ จำนวน 2 ตัว แม่พันธ์ุ
จำนวน10 ตัว 2. พันธุ์เบลท์สวิลล์ สมอลไวท์ พ่อพันธ์ุ จำนวน2ตัวแม่พันธ์ุ จำนวน 10 ตัว 3. เป็ดเทศกบินทร์บุรี พ่อพันธุ์ จำนวน 2 ตัว
แม่พันธุ์ จำนวน10ตัวพร้อมด้วยเวชภัณฑ์จำนวน 2 ชุดเนื่องในโอกาสสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
สยามบรมราชกุมารีเสด็จพระราชดำเนินโครงการทหารพันธุ์ดี โรงเรียนทหารการสัตว์กรมการสัตว์ทหารบก จังหวัดนครนายก
อธิบดีกรมปศุสัตว์ทูลเกล้าเพิ่มเติมว่า กรมปศุสัตว์จะดำเนินงานด้านการปศุสัตว์ภายใต้โครงการพระราชดำริ เป็นการน้อมนำศาสตร์
พระราชาไปสู่การปฏิบัติและประยุกต์ให้สอดคล้องเหมาะสมกับชุมชนและพื้นที่ ช่วยให้เกษตรกรและประชาชนในพื้นที่ได้รับประโยชน์มาก
ขึ้นบนพื้นฐานทรัพยากรของท้องถิ่นนั้น ๆกรมปศุสัตว์จะมุ่งสร้างอาชีพ สร้างความมั่นคงทางอาหาร ทำให้ชุมชนยั่งยืน กรมปศุสัตว์จะ
พัฒนางานด้านปศุสัตว์ให้เกิดประโยชน์แก่เกษตรกรยิ่งขึ้นและภาคภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการสนองพระราชดำริ ต่อไป
ภาพ ธงชัย สาลี สลก,โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า/ข่าวคณะทำงานโฆษกกรมปศุสัตว์